A.A.C ตอนที่ 10 Colony of The Red


0000_ati_logo

สำหรับเรื่องราวทางเทคนิค และผลการทดสอบของ ATi นั้น ผมคิดว่าเพื่อนๆหลายคน คงรู้เรื่องราวในส่วนนี้ดีกันอยู่แล้ว สำหรับ A.A.C ตอนที่ 10 Colony of The Red จะข้อนำเสนอว่า ATi นั้นเคยซื้อกิจการของบริษัทใดไปบางแล้วครับ โดยบริษัทที่โดน ATi ซื้อกิจการไปประกอบด้วยหลายบริษัท และแต่ละบริษัทที่ซื้อไปแล้วนั้น ก็ยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเทคโนโลยีให้กับทาง ATi อีกด้วยครับ เอาเป็นว่าเราไปดูกันดีกว่าว่าทาง ATi ได้ซื้อกิจการอะไรไปบ้าง และกิจการที่ถูก ATi ซื้อไปนั้นแต่ละกิจการมีความเป็นมาอย่างไรบ้าง

1. Tseng Laboratories, Inc

Tseng Laboratoris หรือที่หลายๆคนรู้จักดีในชื่อของ Tseng Labs เป็นบริษัทผลิตกราฟฟิกชิพที่อยู่มายาวนานมากครับ Tseng Labs เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี 1983 Tseng Labs นั้นเริ่มทำกราฟฟิกตั้งแต่ยุคที่ยังใช้จอภาพที่แสดงผลได้เพียง 1 สีครับ จอภาพที่แสดงผล 1 สีในยุคนั้นมี 2 แบบครับ

1. Monochrome Display Adapter (MDA) : โดยจอชนิดนี้จะแสดงผลออกมาเป็นสีเขียวได้เพียงสีเขียวเดียวครับ การ์ดแสดงผลชนิดนี้จะใช้กลับเครื่อง IBM PC

2. Hercules Graphics : จะแสดงผลเป็นสีเทาสีเดียวครับ พัฒนาโดย Hercules Coputer Technology ออกมาเพื่อแข่งขันกับ MDA ของ IBM PC ครับ

0001_MonoCrome 0002_HerculesGraphics

ภาพข้างบน ภาพที่ได้จากการ์ดแสดงผลแบบ MDA (ซ้าย) และ ภาพที่ได้จากการ์ดแสดงผลแบบ Hercules Graphics(ขวา) (Click ที่รูปดูภาพใหญ่)

ชิพกราฟฟิกของ Tseng Labs ได้รับความนิยมเป็นมากในเครื่องให้ IBM PC

Tseng Labs เป็นบริษัทกราฟฟิกรายแรกที่ IBM ให้การสนับสนุนอย่างเต็มตัวครับ

Tseng Labs เป็นผู้ผลิตการการ์ดจอรายแรกที่มีการใช้งานระบบบัสแบบ Local Bus ทำให้การทำงานของการจอไม่ต้องรอสัญญาณควบคุมการทำงาน จากระบบบัสส่วนกลางของ Main board ครับ สงผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานในการแสดงผล และภาพรวมของระบบดีขึ้น

ชิพของ Tseng Labs ได้รับการพัฒนามาเลื่อยๆจนสามารถการแสดงผลที่ความละเอียดสี 8, 15, 16, และ 24-bit ได้ตามลำดับ

ชิพของ Tseng Labs ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจนมีผู้ผลิตการ์ดหลายรายนำไปประกอบเป็นการ์ดขาย และ Tseng Labs ยังได้จำหน่ายการ์ดแบบ OEM ให้ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์อีกหลายรายด้วยครับ เช่น Compaq, Dell, IBM, NEC, STB, Diamond Mulltimedia และ ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ และการ์ดจออื่นๆใน ไตหวัน เป็นจำนวนมาก

0003_ET4000AX

ภาพ Tseng Labs ET4000AX ISA

ต่อมาเมื่อมีการ Integrate RAMDAC (ตัวแปลงสัญญาณดิจิตอล เป็น อนาล็อก ก่อนที่จะส่งไปให้จอภาพแสดงผล) เข้าไปในกราฟฟิกชิพ ซึ่งช่วยลดต้นทุนการ์ดผลิตการ์ดจอให้กับผู้ผลิตการ์ดจอต่างลงได้มาก แต่ว่า Tseng Labs กลับทำชิพที่มีการ Integrate RAMDAC เข้าไปในตัวชิพกราฟฟิกออกมาช้ากว่า S3 และ ATi ทำให้ผู้ผลิตการ์ดรายอื่นๆหันไปใช้ชิพของ S3 และ ATi กันจนหมดครับ และกว่าที่ชิพรุ่น Tseng Labs ET6000 (ซึ่งเป็นรุ่นที่มีการ Integrate RAMDAC เข้าไปในตัวชิพกราฟฟิก) จะออกมา ก็กลายเป็นว่า Tseng Labs ก็ไม่สามารถทำตลาดได้แล้วครับ

0004_ET6000

ภาพ Tseng Labs ET6000

หลังจากนั้น Tseng Labs ก็คิดที่จะทำชิพรุ่น ET6300 ซึ่งเป็นรุ่นที่มีหน่วยประมวล 3D อยู่ในตัว เป็นตัวแรกของ Tseng Labs แต่และแล้ว Tseng Labs ก็ต้องยกเลิกโครงการดังกล่าวไป และในปี 1997 Tseng Labs ได้ขาย วิศวะกร และ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกราฟฟิกทั้งหมดให้กับทาง ATi ครับ

0005_Chromatic

2. Chromatic Research

เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในเรื่องของ Multimedia Processor Chip ซึ่งเป็นชิพที่มีความสามารถเป็นได้ชิพกราฟฟิก ชิพสังเคราะห์เสียง และชิพโมเด็ม ในตัวมันเองเพียงตัวเดียวครับ

0006_MultimediaProcessor

ภาพ โฆษณาที่แสดงให้เห็นว่า "คุณสามารถบอกลา การ์ดต่างๆได้แล้ว เพราะชิพตัวเดียวของ Chromatic Research นั้นสามารถทำงานแทนพวกมันได้หมด"

0007_Mpact3D

ภาพ Mpact มัลติมีเดียการ์ดของ Chromatic Research ที่สามารถเป็นได้ทั้งการ์ดจอ การ์ดเสียง และ โมเด็ม 56K ในตัวเดียว

Multimedia Processor Chip ของ Chromatic Research ถูกนำไปประกอบเป็น Multimedia การ์ดชื่อ Mpact หลายคนอาจจะมองว่า ของที่ถูกจับยัดรวมกันมานั้นมักจะมีคุณภาพที่ไม่ดี แต่สำหรับ Chromatic Research นั้นต้องเรียกได้ว่าเป็นข้อยกเว้นครับ เพราะว่า Mpact ของ Chromatic Research นั้น มีความสามารถ ถอดรหัส DVD ระดับฮาร์ดแวร์ ทำให้การชมภาพยนต์เป็นไปอย่างราบเรียบ ไม่มีการกระตุกแต่เลย อันนี้เราต้องเข้าใจว่า CPU ในสมัยก่อนนั้นทำงานช้ามากๆครับ ขนาดดูหนัง VCD ยังกระตุกเลย แล้ว DVD จะไปเหลืออะไรใช้ไหม่ครับ ดังนันการที่ Mpact ของ Chromatic Research ถอดรหัส DVD ได้ในตัว จึงเป็นการช่วยลดภาระการทำงานของ CPU ลงไปเป็นอย่างมากเลยครับ และนอกจากนี้ในเรื่องของคุณภาพของเสียงที่ได้จาก Mpact ยังทำออกมาได้เป็นอย่างดีด้วยครับ(Dolby 5 Channel) พูดง่ายๆในสมัยก่อน หากใครอยากดู DVD ไม่กระตุก และมีระบบเสียงที่กระหึมก็ต้องไปซื้อ Mpact ของ Chromatic Research มาใช้ครับ

แต่หน้าเสียดายครับ (อีกแล้วเหรอ) ที่ในช่วงกลางยุค 199x นั้นกระแส 3D มาแรงมากๆครับ แม้ว่าเจ้า Mpact ของ Chromatic Research จะมีความสามารถในการประมวลผล 3D และรองรับ Direct3D อยู่ในตัวอยู่แล้ว แต่ประสิทธิภาพก็ยังคงสู้กับการ์ดจอที่ออกแบบมาสำหรับทำงานและเล่นเกม 3D ที่โดยเฉพาะไม่ได้ครับ

เมื่อกระแสแห่งเทคโนโลยีเปลี่ยนไป Chromatic Research ไม่สามารถที่จะยืนยัดสู้ในสงคราม 3D ต่อไปได้ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ตนไม่มีความถนัดครับ ในปี 1998 Chromatic Research จึงถูกซื้อกิจการโดย ATi ครับ

3. ArtX

เป็นบริษัทผลิตกราฟฟิกชิพที่ก่อตั้งในปี 1997 โดยกลุ่ม วิศวะกรที่เคยทำงานอยู่ที่ SGI (ถ้าจำไม่ได้ว่า SGI คืออะไรก็กลับไปดูที่ A.A.C ตอนที่ 8 Profressional Grapphices นะครับ) ArtX มีนโยบายว่า ต้องผลิตกราฟฟิกชิพที่ดีและมีราคาที่ถูกครับ

ArtX ได้ถูก ALi เลือกให้มาช่วยพัฒนากราฟิก IGP ให้กับชิพเซ็ตของ ALi ในรุ่นที่มีชื่อว่า ALi ALADDIN 7 ครับ

0008_Aladdin7

นอกจากนี้ชิพประมวลกราฟฟิกของ ArtX ได้รับเลือกให้มีการนำไปใช้กับ เครื่องเล่นเกม Nintendo 64 (เห็นเป็นเครื่องเล่นเกมตลับแบบนี้ก็เถอะ แต่ภาพมันพอๆกับ PS1 เลยนะครับ อาจสวยกว่าในบางเกมด้วย)

0009nintendo64 0010N64OC

ภาพข้างบน เครื่องเล่นเกม Nintendo N64(ซ้าย) โครงสร้างภายในเครื่องเล่นเกม Nintendo N64(ขวา)

0011_1castlevania_legacy_of_darkn 0011_2resident_evil_2 0011_3resident_evil_Zero

ภาพตัวอย่าง เกมบนเครือง Nintendo N64 Castlevania: Legacy of Darkness (ซ้าย) Resident Evil 2 (กลาง) และ Resident Evil Zero (N64 Demo Version)(ขวา)

(Resident Evil Zero เวอร์ชั่นบน Nintendo N64 โดน Capcom ยกเลิก และถูกนำไปพัฒนาใหม่บนเครื่อง Nintendo GemeCube และ Sony PlayStation 2 ครับ)

0011_4resident_evil_Zero

ภาพบน Resident Evil Zero ถูกนำมาพํฒนาใหม่บนเครื่อง Nintendo GameCube และ Sony PlayStation 2

ด้วยการที่ ArtX สามารถผลิตชิพกราฟฟิกที่ทั้งมี คุณภาพดี และมีราคาถูก ทำให้ทาง ATi สนใจในตัว ArtX เป็นอย่างมาก และแล้ว ATi จึงได้ตัดสินใจซื้อ ArtX ในปี ค.ศ. 2000

ในช่วงที่ ATi ซื้อ ArtX นั้น ทาง ArtX เองก็กำลังติดข้อสัญญาที่ว่า ArtX กำลังพัฒนาชิพประมวลผลให้กับเครื่องเล่นเกม Nintendo GameCube อยู่ครับ จึงกลายเป็นโชคดีของทาง ATi ที่ซื้อกิจการบริษัทใหม่ ก็ได้ลูกค้าใหม่ทันทีเลยครับ และทาง ATi กับ ArtX ก็ร่วมมือกันพัฒนา GPU ที่ชื่อว่า "Flipper" ให้กับเครื่องเล่นเกม Nintendo GameCube ครับ

0012_gamecube2_console_controller 0013_gamecube_motherboard

ภาพเครื่องเล่นเกม Nintendo GameCube (คลิกรูปดูภาพใหญ่)

0014_Resident Evil 1

ภาพ Resident Evil 1 : GameCube Remake ที่ทำออกมาสำหรับให้เล่นบนเครื่อง GameCube เท่านั้น (คลิกรูปดูภาพใหญ่)

และสิ่งที่ยื่นยันว่า ATi ตัดสินใจถูกต้องในการซื้อกิจการของ ArtX นั้นก็คือ ชิพตระกูล R200(Radeon 8500) และ R300 Series (Radeon 9800, 9700, 9600 และ 9500) ซึ่งเป็นผลงานที่เกิดจากการร่วมมือกันพัฒนาของ ATi และ ArtX ครับ R200 และ R300 ทำให้ ATi สามารถกระโดดขึ้นมาต่อสู้กับ GeForce ของ NVIDIA ชนิดที่เรียกว่าไม่มีผู้ผลิตกราฟฟิกชิพรายใด สามารถทำได้เช่นนี้มาก่อนครับ (หากจำกันได้ในสมัย ATi Rage นั้น ATi วิ่งตาม 3DFX และ NVIDIA ไม่ทันเลย) ผลงานชิ้นนี้ทำให้ David Orton อดีตประธาน ArtX ได้นั้งเก้าอี้ CEO ของ ATi จนกระทั้งถึงวันที่ AMD มาซื้อกิจการของ ATi ครับ

0015-r9700-chip

ภาพชิพ R300 ผลงานที่เกิดจากความร่วมกันของ ATi และ ArtX

0016_APPIAN_GRAPHICS

6.Appian Graphics

เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงทางด้านการผลิตการ์ดจอสำหรับการเชื่อมต่อกับจอภาพหลายจอ (MultiMonitor) เทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงของ Appian Graphics คือ ซอฟต์แวร์ ที่มีชื่อว่า HydraVision ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เทคโนโลยีที่ช่วยในการจัดการ MultiMonitor ครับ โดยชิพที่ทาง Appian Graphics เลือกใช้ส่วนจะเป็น S3, 3DLabs และ ATi ครับ

ในปี ค.ศ. 2001 ATi ได้ซื้อทีมพัฒนา HydraVision จาก Appian Graphics และ เทคโนโลยี HydraVision ได้ก็ตกเป็นของ ATi ตั้งแต่เวลานั้นเป็นต้นมา

0017_2j2000_card

ภาพการ์ดจอของ Appian Graphics รุ่น Jeronimo 2000 (ใช้ ชิพ 3DLabs Permedia 2 จำนวน 2ตัว)

0017_hvnt4_desktop_management

0018_hyvisionATi

ภาพเปรียบเทียบ หน้าต่างการทำงาน HydraVision ของ Appian Graphics และ ATi (คลิกที่รูปดูภาพใหญ่)

5. MacroSynergy

MacroSynergy เป็นบริษัทออกแบบชิพกราฟฟิก ที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีนครับ ผลงานของ MacroSynergy คือการออกแบบชิพกราฟฟิกให้ทาง XGI ครับ ในปี ค.ศ. 2006 MacroSynergy ถูกซื้อกิจการโดย ATi ครับ

0018VolariXP5

ชิพกราฟฟิกของ XGI

0019_BitBoys

6.BitBoys

BitBoys เดิมเคยเป็นบริษัทผลิตการ์ดจอ และชิพกราฟิกสำหรับ PC ครับ ชิพของ BitBoys ที่มีชื่อเสียงได้แก่ Pyramid 3D โดย BitBoys เป็นผู้ออกแบบ และให้ทาง Tritech Microelectronics เป็นผู้ผลิตชิพให้ โดยชิพ Pyramid 3D เกือบจะเป็นชิพกราฟฟิกตัวแรกที่มีความสามารถ T&L ในตัวแล้ว แต่ติดปัญหาตรงที่ว่า Tritech Microelectronics ซึ่งเป็นบริษัทผลิตชิพให้ Bitboys เกิดปัญหาขึ้นเสียก่อน โครงการ Pyramid 3D จึงต้องพับไปครับ

(*หมายเหตุ ชิพที่มีความสามารถประมวลผล T&L อยู่ในตัว ตัวแรกคือ GeForce 256 แต่ ณ ช่วงเวลาที่ทาง BitBoys โฆษณาเกี่ยว Pyramid 3D อยู่นั้น ทาง NVIDIA มีแค่ RIVA 128ZX เท่านั้นเองครับ จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไม หลายคนถึงตั้งหน้าตั้งตารอการ์ดจอจาก BitBoys)

0019_Preramit3D

ภาพการ์ดจอ BitBoys Pyramid 3D ตัวตนแบบ

หลังจากนั้นในปี 1999 BitBoys ได้ทำการประกาศอีกครั้งว่าจะทำการออกการ์ดจอที่ชื่อว่า Glaze 3D ที่ใช้ชิพกราฟฟิกชื่อว่า AXE ที่รองรับ DirectX 8.1 ซึ่งถ้ามันออกมาจริง AXE ก็จะเป็นชิพกราฟฟิกตัวแรกที่รองรับการทำงานของ Shader Model เป็นตัวแรก แต่และแล้วเรื่องราวก็เงียบหายไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น และ AXE ก็ไม่ได้ออกมา

0020_AXE

การ์ดจอ Glaze 3D ที่ใช้ชิพ AXE จาก BitBoys

ในปี 2001 BitBoys ได้ประกาศว่าจะออกชิพกราฟฟิกตัวใหม่ชื่อ Hammer แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชน และผู้ใช้งาน เพราะพวกเขาคิดว่ามันคงไม่ออกมาจำหน่ายแน่ๆ และก็เป็นไปตามที่หลายคนคาดการณ์ไว้ Hammer ไม่ได้ออกมาจำหน่ายจริงๆด้วย

0022_1bitboys

ภาพ โลโก้ใหม่ของ BitBoys หลังจากเปลี่ยนมาทำกราฟฟิกชิพสำหรับตลาด Mobile

ต่อมา BitBoys ก็เปลี่ยนเป้าหมายไปทำชิปกราฟฟิกสำหรับ โทรศัพท์มือถือแทนครับ และ BitBoys ก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และก็กลายเป็นว่าพวกชิพ AXE และชิพ Hammer ที่ไม่เคยปรากฏตัวบนตลาด PC นั้นกลับมาปรากฏตัวบนตลาดโทรศัพท์มือถือแทนครับ ชิพกราฟฟิกของ BitBoys นั้นเหมาะการเล่นเกม 3D บนโทรศัพท์มือถือ และ PDA เป็นอย่างยิ่งครับ และด้วยเหตุผลนี้ทำให้มีผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ และ PDA เลือกใช้ชิพกราฟฟิกของ BitBoys เพิ่มขึ้นเรื่อยๆครับ และทาง ATi ก็เห็นความสามารถในการผลิตชิพกราฟฟิกสำหรับตลาด Mobile ของ BitBoys (ดูแล้วว่าต้องรุ่งแน่ๆ) ATi จึงได้เข้าซื้อกิจการของ BitBoy ในปี 2006 เป็นมูลค่า 44 ล้านเหรียญสหรัฐครับ

0024_2005MAY27_EDA_NT10 0022_g34_kolibri_x80 0025_2005MAY27_EDA_NT10

0028_2

AMD เข้าซื้อกิจการของ ATi

AMD ได้คิดที่จะเพิ่มชนิดของสินค้าเพื่อขยายตลาด และ AMD เองต้องการสร้างแฟลตฟอร์มของตนเองขึ้นมา AMD ก็หันซ้าย แลขวา ในที่สุด AMD ก็พบว่า ATi นี้แหละที่เหมาะที่สุด ที่ AMD จะซื้อกิจการ เพราะ ATi นั้นมีทั้งกราฟฟิกชิพที่มีชื่อเสียง มีชิพเซ็ต IGP ที่ประสิทธิภาพยอดเยี่ยม และการที่ AMD ซื้อกิจการของ ATi มาก็จะสามารถทำให้ AMD เล่นแร่แปลธาตุได้หลายอย่าง เช่น สร้างแฟลต์ฟอร์มต่างๆของตัวเองขึ้นมา หรือ AMD จะทำ CPU Multicore ชนิดที่มี GPU อยู่ภายในตัว CPU ก็ยังได้ คิดไปคิดมา AMD ก็ตัดสินใจซื้อกิจการของ ATi เป็นมูลค่า 5.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ และนอกจากนี้ AMD ต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก 800 ล้านเหรียญเพื่อปรับปรุงโครงสร้างภายในองค์กรที่ล่าหลังของ ATi ครับ

0026_AMD_ATI

ภาพบน แสดงให้เห็นว่า การที่ AMD ซื้อกิจการของ ATI ทำให้เพิ่มช่องทางการค้าให้กับทาง AMD มากขึ้น

0026_1

ภาพ Dave Orton อดีต CEO ของ ATI (ซ้าย) และ Hector Ruiz อดีต CEO ของ AMD (ขวา)

0027_1

Dirk Meyer ผู้ดำรงตำแหน่ง CEO คนปัจจุบันของ AMD (ค.ศ. 2008)








A.A.C ตอนที่ 10 Colony of The Red

บทความโดย : IonRa

e-mail : ionra@live.co.uk

บทความนี้เคยนำเสนอใน : Vmod, UPC, OCZ

0 ความคิดเห็น: