A.A.C ตอนที่ 17 : ตำนาน 3dfx ผู้ปฏิวัติวงการเกม PC ภาคจบ


ต่อจากตอนที่แล้ว A.A.C ตอนที่ 16 : ตำนาน 3dfx ผู้ปฏิวัติวงการเกม PC ภาคต้น (คลิก! เพื่ออ่าน)

สงครามครั้งสุดท้ายของ 3dfx

เอาล่ะครับ ในเมื่อทาง NVIDIA ส่ง GeForce 256 ซึ่งเป็นสุดยอดแห่งกราฟิคชิพลง ทาง 3dfx ก็มี Rampage Project ที่ตนเองเฝ้าคิดค้นมานานวัน แต่ว่า....Rampage Project ยังไม่เสร็จ ครับ T T ถึงแม้ว่า Ramepage Project จะยังไม่เสร็จสมบูรณ์ก็เถอะ แต่ในระหว่างการพัฒนา Ramepage Project อยู่นั้น ก็มีดอกผลของ Ramepage Project มากพอที่ 3dfx จะเอาดอกผลเหล่านั้นมาสร้างชิพกราฟิคตัวใหม่ออกมาเพื่อต่อกรกับ GeForce 256 ได้ เพื่อเป็นการขัดตราทัพไว้จนกระทั้ง Ramepage Project เสร็จสมบูรณ์

3dfx ของเราก็ได้ทำการพัฒนาชิพรุ่นใหม่ขึ้นมานั้นคือ VSA-100 ซึ่ง VSA-100 นี้จะมีคุณสมบัติกราฟิคใหม่ๆที่ทางทีม Rampage Project ได้พัฒนาขึ้นให้มันด้วยครับ นอกจากนี้ VSA-100 ซึ่งเป็นชิพตัวใหม่จาก 3dfx นี้สามารถแสดงผลที่คุณภาพสี 32 บิตได้ด้วยครับ ซึ่งก็เรียกได้ว่าเป็นการเป็นการลบจุดอ่อนของตนเองออกไปได้พอดีเลยครับ ว่าแล้วเราไปดูคุณสมบัติกราฟิคใหม่ที่อยู่ชิพ VSA-100 กันดีกว่า

1.) T-Buffer เป็นทำ multiple frame buffers ทำให้การ Render ภาพสามารถทำได้ต่อเนื่องและเสมือนจริงมากขึ้น

23_t-buffer

2.) FXT1 เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในการบีบอัด Texture ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดพื้นที่หน่วยความจำที่ใช้ในการเก็บ Texture และยังช่วยทำให้ประมวลผล Texture ได้เร็วขึ้นด้วยครับ ซึ่งหากเทียบกับ S3TC ซึ่งเป็นเทคนิคการบีบอัด Texture ที่ชิพกราฟิคค่ายอื่นๆนิยมใช้กันอยู่ในขณะนั้นแล้ว FXT1 นั้นจะใช้พื้นที่หน่วยความจำ และพลังในการประมวลผลน้อยกว่า S3TC ครับ ส่วนเรื่องคุณภาพของภาพนั้นต้องขึ้นอยู่กับว่าจะใช้เล่นเกมไหนนั้นเองครับ เพราะบางเกม FXT1 ทำออกมาได้ดีกว่า แต่บางเกม S3TC ทำได้ดีกว่า แต่ประสิทธิภาพ FXT1 เหนือกว่าทุกเกมครับ สำหรับเกมที่สนับสนุน FXT1 คือเกม Serious series ครับ

หน้าเสียดายที่ Microsoft ไม่ได้บรรจุ FXT1 ไว้ใน DirectX ทำให้ FXT1 ต้องตายไปพร้อมกับ 3dfx ครับ

34_chartsize

จากตาราง เราจะเห็น การใช้เทคนิค FXT1 ในการบีบอัด Texture จะทำให้ใช้พื้นที่ในการเก็บ Texture ในหน่วยความจำน้อยมากครับ เมื่อเทียบกับการเก็บ Texture แบบปกติในการแสดงผงที่โหมดสี 8, 16, 24 และ 32 บิต ตามลำดับ

56_32bit
ภาพข้างบน Texture ในโหมด 32 บิต
57_16bit
ภาพข้างบน Texture ในโหมด 16 บิต
57_s3tc
ภาพข้างบนTexture ซึ่งถูกบีบอัดโดย S3TC
58_FXT1
ภาพข้างบนTexture ซึ่งถูกบีบอัดโดย FXT1

3.)FSAA คุณสมบัติลบรอยหยัก : VSA-100 ใช้เทคนิค Multi-Sampling ในการลบรอยหยักซึ่งคุณภาพจะดีกว่า เทคนิค Over-Sampling ที่ GeForce 256 และ Radeon รุ่นแรกใช้กันอยู่ในขณะนั้น ปัจจุบันนี้ ทั้ง Nvidia และ ATi ก็ได้หันมาใช้เทคนิค Multi-Sampling เหมือที่ 3dfx ใช้ใน VSA-100 ครับ โดย ATi เริ่มใช้ใน Radeon 8500 และ NVIDIA เริ่มใช้ใน GeForce 6 Series ครับ

33_AAquake2

4.)Motion Blur เมื่อเปิดคุณสมบัตินี้แล้วจะทำให้วัตถุที่เคลื่อนมีความเบลอ หรือภาพติดตาระหว่างที่มันเคลื่อนที่ไปด้วย ทำให้มีความสมจริงสมจังมากขึ้นครับ

24_Q3tbuffer4

ภาพ การเคลื่อนไหวของวัตถุที่มีการใช้เทคนิค Motion Blur

32_Q3tbuffer4

ภาพ เกม Quake III เมื่อใช้เทคนิค Motion Blur (คลิกรูปดูภาพใหญ่)

5.) The depth of field blur : คือเทคนิคที่ทำให้มุมกล้องสามารถ โพกัสภาพไปยังที่วัตถุที่ต้องการให้ผู้เล่นเกมเห็นได้ชัดขึ้นกว่าวัตถุทั่วไป โดยจะทำให้ภาพรอบข้างวัตถุที่ต้องการโฟกัสเกิดภาพเบลอ(Blur) ทำให้เราเห็นวัตถุที่ผู้สร้างเกมต้องการให้เราเห็นชัดขึ้น ซึ่งเทคนิคนี้เป็นเทคนิคเดียวกับที่ใช้ในการถ่ายทำภาพยนต์ครับ

28_depthoffieldblur

ภาพ ภาพยนต์ The bug life ที่มีการใช้เทคนิค The depth of field blur ทำให้ตัวมดเด่นขึ้น เพราะฉากรอบข้างตัวมดเบลอหมด

6.) The Soft shadows : คือ เทคนิคการปรับแสงใต้พื้นที่ที่เงาของวัตถุบังอยู่ ทำให้เงาของวัตถุสมจริงสมจังมากขึ้น

29_image009

การ สร้างเงาแบบปกติ

30_image011

การ สร้างเงาด้วยเทคนิค The Soft shadows

7.) The Soft reflections : ทำให้ภาพที่เกิดจากจากสะท้อนแสงของวัตถุมีความสมจริงๆมากขึ้น โดยภาพสะท้อนที่อยู่ใกล้วัตถุก็จะมีความจัดเจนมาก และภาพสะท้อนในส่วนที่อยู่ห่างจากวัตถุออกไปมีความชัดเจนน้อยลงตามลำดับครับ

31_softshad&ref

ภาพที่มีการใช้เทคนิค The Soft reflections และ The Soft shadows

งานนี้เรียกได้ว่าไม่แพ้กันเลยเพราะ NVIDIA ก็มี T&L ทาง 3dfx เองก็มี T-Buffer และเทคนิคสุดวิเศษอื่นๆอีกมากมายครับ ต้องมาตัดสินกันที่ประสิทธิภาพ และจำนวนเกมที่สนับสนุนเทคนิคการประมวลกราฟิคที่แต่ละคนมีแล้วล่ะครับ

หลังจากที่ 3dfx ทำการประกาศว่าจะมีเทคนิคใหม่อะไรบ้างในชิพ VSA-100 ของตนแล้ว ทาง 3dfx ก็ได้ประกาศให้ทราบอีกว่าชิพ VSA-100 จะนำไปติดตั้งบนการ์ด Voodoo ของ 3dfx ดังนี้

  • Voodoo4 4500 ใช้ชิพ VSA-100 1 ตัว
  • Voodoo5 5000 ใช้ชิพ VSA-100 2 ตัว แรม 32 MB (โดนยกเลิกการผลิตภายหลัง)
  • Voodoo5 5500 ใช้ชิพ VSA-100 2 ตัว
  • Voodoo5 6000 ใช้ชิพ VSA-100 4 ตัว

สิ่งเหล่านี้ ทำให้แฟนๆของ 3dfx และหนักเล่นเกมอีกหลายต่อหลายคนตั้งหน้าตั้งตารอซื้อการ์ดจอจาก 3dfx และด้วยความโลภมากในใจของ 3dfx เองนี้แหละครับ ทำให้ 3dfx ดำเนินการผลิตชิพเอง ประกอบการ์ดเอง และขายเองแต่เพียงผู้เดียว ดูสิจะเป็นยังไงต่อไป

ภายในห้องทดลอง ของ 3dfx

ก่อนที่จะดำเนินเนื้อเรื่องต่อไป เราตัดกลับมาดูภายในห้องทดลอง ของ 3dfx กันก่อนนะครับ

หลังจากที่พัฒนา VSA - 100 เสร็จ 3dfx ก็ได้ลองทดสอบดูภายในห้องทดลองของตน ผลปรากฎว่า VSA-100 จำนวน 1 ตัว ใช้งานร่วมกับหน่วยความจำ SDRAM ยังไม่สามารถเอาชนะ GeForce 256 ได้ 3dfx ก็ได้พยายามอีกครั้งโดยการนำ VSA-100 จำนวน 2 ตัว มาใช้งานร่วมหน่วยความจำ SDRAM ก็ยังคงเอาชนะ GeForce 256 ไม่ได้เหมือนเดิม 3dfx ได้ทดลองเปลี่ยนจากการใช้ SDRAM มาเป็น DDR-RAM ผลที่ได้ก็คือ VSA-100 จำนวน 2 ตัว ทำงานร่วมกับหน่วยความจำ DDR-RAM สามารถเอาชนะ GeForce 256 ได้ ทุกคนใน 3dfx ต่างก็ดีใจที่ชิพกราฟิคของตัวเองกำลังจะกลับขึ้นไปเป็นที่ 1 แห่งวงการชิพอีกแล้ว 3dfx จะกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งแล้ว ทาง 3dfx กำลังเตรียมตัวที่จะสั่ง DDR-RAM จำนวนมากจากประเทศ ใต้หวัน เพื่อนำมาใช้กับชิพ VSA-100 ของตนเอง แต่และแล้วเหตุการณ์ที่ไม่มีใครขาดฝัน และไม่มีใครอยากจะให้มันก็เกิดขึ้นครับ นั้นก็คือ เหตุการแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ที่ใต้หวัน เหตุการณ์นี้ทำให้โรงผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ของต้องพังพินาศไม่มีชิ้นดี เหตุการณ์นี้ส่งผลให่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกขาดแคลน และมีราคาแพงขึ้นตามมา ซึ่งอุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือ RAM เพราะโรงงานที่เสียหายส่วนใหญ่แล้วเป็นโรงงานผลิตแรมนั้นเองครับ

35_taiwan_six

ภาพความเสียหายที่เกิดจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ ไต้หวัน เมื่อ เดือนกันยายน ปี ค.ศ. 1999

จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้ 3dfx ไม่สามารถนำ DDR-RAM มาใช้กับการ์ด Voodoo 4 และ 5 ได้เพราะว่า DDR-RAM ในช่วงเวลานั้นมีราคาแพงเป็นอย่างมาก และ 3dfx เองก็ต้องจำใจผลิตการ์ด Voodoo 4 และ 5 ที่ใช้ SDRAM แทนซึ่ง SDRAM ในเวลานั้นก็มีราคาที่แพงกว่า SDRAM ในเวลาปกติเกินกว่า 2 เท่าตัวเสียอีก ด้วยเหตุผลนี้ทำให้ต้นทุนการผลิตของ 3dfx สูงขึ้น (Voodoo5 6000 ซึ่งเป็นรุ่น TOP สุดของสายการผลิตมีการตั้งราคาไว้ที่ 600 เหรียญสหรัฐ ในเวลานั้น)

และด้วยแผนการตลาดที่ 3dfx ได้วางไหวนั้นก็คือ "ดำเนินการผลิตชิพเอง ประกอบการ์ดเอง และขายเองแต่เพียงผู้เดียว" ทำการ์ณผลิตสินค้าของ 3dfx เป็นไปอย่างเชื่องช้า ส่งผลให้การวางจำหน่ายสินค้าของ 3dfx ช้าไปห้าเดือน จากกำหนดเดิมจะวางจำหน่าย Voodoo5 5500 ในเดือน ธันวาคม ปีค.ศ. 1999 ก็ต้องเลื่อนมาเป็นเดือน เมษายน ปี 2000 แทน แบบนี้ต่อให้แฟนของ 3dfx รักกันขนาดไหนก็คงรอกันไม่ไหวนะครับ

เมื่อ Voodoo5 5500 ออกมาแล้ว ก็ยังไม่สามารถเอาชนะ GeForce 256 ได้เพราะต้องลดเสป็คไปใช้ SD-RAM นั้นเองครับ

ต่อ NVIDIA ได้จูโจมต่อด้วยอาวุธใหม่ที่แรงกว่าเดิมนั้นก็คือ GeForce 2 GTS นั้นเองครับ

3dfx ก็ได้ส่ง Voodoo4 4500 ออกมาเพื่อหวังที่จะทำตลาดระดับกลาง ที่มีราคาถูกลง เพราะในระดับนี้คงไม่มีใครสู้ Voodoo4 4500 ได้อย่างแน่นอน

แต่แล้ว NVIDIA ก็ได้ส่ง GeForce 2 MX ซึ่งเป็น GeForce 2 ราคาประหยัดลงสู้กลับ Voodoo4 4500

Voodoo4 4500 และ Voodoo5 5500 เสียเปรียบตรงที่สินค้ามีน้อย และหาซื้อยาก เพราะมีโรงงานผลิตแค่แห่งเดียวเท่านั้นครับ

และหลังจากนั้น 3dfx ก็ประสบปัญหาทางด้านการเงิน เพราะสินค้าขายได้น้อย และก่อนหน้านี้ตนเองก็ลงทุนไปมากกับหลายๆสิ่ง หลายอย่าง ทำให้ 3dfx ไม่สามารถยื่นอยู่บนตลาดกราฟิคชิพได้อีกต่อไป และได้ขายกิจการทั้งหมดของตนให้กับ NVIDIA ในที่สุด

*หมายเหตุ แม้ทรัพย์สินหลายอย่างของ 3dfx จะตกเป็นของ NVIDIA แต่ลิขสิทธิ์ของชิพ VSA-100 3dfx ขายให้ Quantum 3D ไปก่อนหน้าที่ NVIDIA จะมาซื้อ 3dfx ครับ

36_4500

ภาพ Voodoo4 4500

37_5500agpf

ภาพ Voodoo5 5500

AAlchemy_8164_1
การ์ดจอ Quantum 3D AAlchemy 8164 ซึ่งใช้ชิพ VSA-100 จำนวน 8 ตัว

สุดยอดอาวุธที่ไม่มีโอกาศได้เปิดตัวจาก 3dfx

เราจะไปดูสุดยอดอาวุธการ์ดจอในตำนานของ 3dfx ที่ไม่มีโอกาศได้เกิดกันนะครับ

1.) Voodoo5 6000 ซึ่งใช้ชิพ VSA-100 ถึง 4 ตัว ยังพัฒนาไม่เสร็จสมบูรณ์

Voodoo5 6000 ซึ่งใช้ชิพ VSA-100 ถึง 4 ตัว ยังพัฒนาไม่เสร็จ เพราะมีปัญหาต่างๆจุกจิกมากมายดังนี้

  1. ปัญหาในการเชื่อต่อชิพทั้ง 4 ตัว : โดยปกติชิพ 1 คู่หรือ 2 ตัวจะทำ SLI กันเองได้อยู่แล้ว แต่หากจะทำให้ชิพ 2 คู่ หรือ 4 ตัว ทำ SLI ซ้อนกันอีกที่จะต้องมีชิพเชื่อมสัญญาณอีก 1ตัว เพิ่มเข้า ตอนแรก 3dfx เลือกใช้ชิพของ Intel แต่ว่ามีปัญหาตรงที่ ชิพของ Intel ทำงานได้ช้า และ ไม่สเถียร ต่อมา 3dfx ได้เลือกใช้ชิพของ HINT แทน
  2. ปัญหาเรื่องการบริโภคไฟ : เนื่องจาก Voodoo5 6000 ใช้งานบนสล็อต AGP 2X ซึ่งไม่มีไฟมากพอที่จะเลี้ยงชิพ 4 ตัวได้ ตัง 3dfx จึงได้ออกแบบการเชื่อมต่อไฟของ Voodoo5 6000 เพิ่มขึ้นใหม่ หลายๆรูป โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ ใหญ่ๆ คือ แบบใช้ไฟจาก Power Supply ภายใน และแบบต่อไฟจากภายนอกเคสเขามา
  3. การจัดวางชิพบนการ์ดจอ : การนำชิพ 4 ตัวมาวางบนการ์ดตัวเดียวกันนั้นเป็นเรื่องยากทำให้การจัดวางชิพของ Voodoo5 6000 แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบ 2 x 2 และ แบบ 1 x 4

จากเหตุผลข้างต้นเราพอจะมองเห็นภาพแล้วว่า Voodoo5 6000 นั้นต้องถูกทดลองผลิตออกมาหลายรูปแบบอย่างแน่นอน ซึ่งจริงๆแล้วก็มีหลายรูปแบบอย่างที่คิดไว้จริงๆครับ

Voodoo5 6000 ไม่มีขายในตลาดทั่วไป แต่ในช่วงเวลานั้นใครที่อยากจะเป็นเจ้าของ Voodoo5 6000 จะต้องใช้เส้น หรือวิธีพิเศษอื่นๆที่จะนำ Voodoo5 6000 รุ่นทดสอบออกมาจากสำนักงานของ 3dfx เพื่อที่ตนเองจะได้เป็นเจ้าสิ่งของล้ำค่า และหายากชิ้นหนึ่งของโลกไอที

มี Voodoo5 6000 รุ่นทดลองจำนวนไม่มากนักที่หลุดออกมาจากสำนักงานของ 3dfx นอกจากจะหามาใช้ได้อยางยากลำบากแล้ว Driver ของ Voodoo5 6000 เองก็ต้องให้คนนอก 3dfx นั้นเขียนขึ้นมาให้ใหม่ เพราะตอนที่ 3dfx ปิดกิจการไปนั้นยังไม่ได้ส่ง Driver ของ Voodoo5 6000 ออกมาเนื่องจากเป็นการ์ดรุ่นทดสอบ บวกกับไดรเวอร์ที่ไม่ใช้ตัวแท้จาก 3dfx ทำให้ Voodoo5 6000 มีประสิทธิภาพเหนือกว่า Voodoo5 5500 ไม่มากนัก

รูป Voodoo5 6000 ใน Model ต่างๆ (คลิกรูปดูภาพใหญ่ )

43_v6_comdex

ภาพ ข้างบน Voodoo5 6000 ตัวที่ที่นำไปแสดงที่งาน COMDEX เป็น Voodoo5 6000 ตัวแรกที่ปรากฎต่อสายตาสาธราณะชน

44_v6_1500

ภาพข้างบน Voodoo5 6000 Model REV.1500 ซึ่งใช้ชิพ Bridge Chip จาก Intel และใช้ไฟจากภายนอกเคส

39_Rev.A2 2600

ภาพข้างบน Voodoo5 6000 Model REV.2600 ซึ่งใช้ชิพ Bridge Chip จาก HINT และใช้ไฟจากภายนอกเคส

55_3400_a3

ภาพข้างบน Voodoo5 6000 Model REV.3400A3 ซึ่งใช้ชิพ Bridge Chip จาก HINT และใช้ไฟจาก Power Supply ภายในเคส

38_Rev.A 3700

ภาพข้างบน Voodoo5 6000 Model REV.3700A ซึ่งใช้ชิพ Bridge Chip จาก HINT สามารถใช้ไฟได้ทั้งจากภายนอกและภายในเคส

54_37A

ภาพข้างบน Voodoo5 6000 Model REV.3700A ซึ่งใช้ชิพ Bridge Chip จาก HINT และสามารถใช้ไฟได้ทั้งจากภายนอกเคส

48_37A

ภาพข้างบน Voodoo5 6000 Model REV.3700A ซึ่งถูกโมให้สามารถใช้ไฟจาก PSU ภายในเคสเคสได้

45_v6_3700p

ภาพข้างบน Voodoo5 6000 Model REV.3700P ผมชอบ Model มากๆพัดลมสวยดีครับ

51_3900_Top

ภาพ เรียงจากบนลงล่างตามลำดับ REV.3900A, 3400A3, 1500A1

50_Gef
52_97x2 53_incom
51_CardandBox
ภาพกล่องของ Voodoo5 6000
Not
มียันต์แปะไว้ด้วยว่าห้ามขายต่อ น่ะ

2.) Daytona หรือ VSA-101

VSA-101 คือชิพที่ลดเทคโนโลยีการผลิตลงเป็น 180 nm ซึ่งเล็กกว่า VSA-100 ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิต 250 nm การลดเทคโนโลยีการผลิตนี้ทำให้ 3dfx สามารถเร่งความเร็วของ VSA-101 ได้ถึง 183 - 200 MHz ซึ่งมากกว่า VSA-100 ที่มีความเร็ว 166 MHz แต่ Daytona ถูกออกแบบมาให้เป็นการ์ดที่ราคาถูกกว่าการ์ดที่ใช้ชิพตระกูล VSA-100 ดังนั้น Daytona หรือ VSA-101 จึงต้องถูกนำไปประกอบกับการ์ดที่ใช้หน่วยความจำ 64 บิต ซึ่งจะประสิทธิภาพที่ได้จะสู้ชิพ VSA-100 ที่ใช้งานร่วมกับหน่วยความจำ 128 bit ไม่ได้ แต่ Daytona หรือ VSA-101 ก็จะมีราคาที่ถูกกว่าครับ 3dfx มีแผ่นที่จะนำ Daytona หรือ VSA-101 ไปใช้กับการ์ดต่อไปนี้
  1. Voodoo4 4200 ใช้ชิพ VSA-101 จำนวน 1 ตัว
  2. Voodoo5 5200 ใช้ชิพ VSA-101 จำนวน 2 ตัว
แต่ในที่สุด NVIDIA ก็เข้ามาซื้อกิจการของ 3dfx ก่อนครับ VSA-101 จริงไม่ได้เกิดครับ
59_voodoo4 4200
ภาพ Voodoo4 4200 AGP
59_voodoo4 4200 PCI
ภาพ Voodoo4 4200 PCI

3.) 3dfx Spectre

Spectre คือการ์ดจอของ 3dfx ซึ่งใช้ชิพกราฟิค Ramepage ซึ่งผลสำเร็จขั้นสุดท้ายของ Ramepage Project ซึ่งเป็นความหวังสุดท้ายของ 3dfx ที่จะใช้สู้กับ GeForce ของ NVIDIA ครับ

นอกจากนี้แล้ว 3dfx ยังได้พัฒนาชิพ SEGA ขึ้นมาเพื่อใช้งานคู่กับ ชิพกราฟิค Ramepage โดยชิพ SEGA จะช่วยประมวลผลทางด้าน Geometry และ T&L ครับ ซึ่งเมื่อนำชิพ Ramepage และ SEGA มาประกอบรวมกันบนการ์ดจอ Spectre จะได้การ์ดจอสุดแรงแห่งยุคขึ้นมาครับ

3dfx ได้ออกแบบ การ์ด Spectre ไว้ 3 ตัวดังนี้

  1. Spectre 1000 ใช้ชิพกราฟิค Rampage จำนวน 1 ตัว
  2. Spectre 2000 ใช้ชิพกราฟิค Rampage จำนวน 1 ตัว และ ชิพ SAGE จำนวน 1 ตัว
  3. Spectre 3000 ใช้ชิพกราฟิค Rampage จำนวน 2 ตัวและ ชิพ SAGE จำนวน 1 ตัว

3dfx ได้ทดลองผลิต Spectre 1000 ออกมาสำหรับทดสอบในห้องปฏิบัติการจำนวน 20 ตัวครับ

และหลังจากนั้นไม่นาน NVIDIA ก็เข้าซื้อกิจการของ 3dfX ครับ

60_Spectre_1000

ภาพ Spectre 1000

61_spectre3000

ภาพ Spectre 3000

ผลการทดสอบ Voodoo4 4500, Voodoo5 5500 และVoodoo5 6000

- สำหรับ Voodoo5 6000 ที่นำมาทดสอบ คือ Model 3700A ครับ

70_01_DungeonSiege2-Zwischensequenz_800x600x32bpp 71_HeavyMetalFAKK2-PCGHTimedemo_1600x1200x32bpp


Dungeon siege 2 Heavvy Metal FAKK 2
NVIDIA GeForce 2 70_01_GF2-4x-2x-32bit 71_GF2-4x-2x-32bit
NVIDIA GeForce 3 70_GF3-4xS-2x-32bit 71_GF3-4xS-2x-32bit
NVIDIA GeForce FX 70_NV38-8xS-2x-32bit 71_NV38-8xS-2x-32bit
Kyro 2 70_Kyro2-4x-2x-32bit 71_Kyro2-4x-2x-32bit
3dfx Voodoo5 70_VSA100-4x-32bit 71_VSA100-4x-32bit
ATi Radeon 8500 70_R200-4x-2x-32bit 71_R200-4x-2x-32bit-Quality

72_MaxPayne_1024x768x32bpp

73_MaxPayne2-Prologue_1024x768x32bpp

74_SeriousSamSE-TaldesJaguars_1024x768x32bpp


Maxpayne Maxpayne 2 Serious Sam SE
NVIDIA GeForce 2 72_GF2-4x-2x-32bit 73_GF2-4x-2x-32bit 74_GF2-4x-2x-32bit
NVIDIA GeForce 3 72_GF3-4xS-2x-32bit 73_GF3-4xS-2x-32bit 74_GF3-4xS-2x-32bit
NVIDIA GeForce FX 72_NV38-8xS-2x-32bit 73_NV38-8xS-2x-32bit 74_NV38-8xS-2x-32bit
Kyro 2 72_Kyro2-4x-2x-32bit 73_Kyro2-4x-2x-32bit 74_Kyro2-4x-2x-32bit
3dfx Voodoo5 72_VSA100-4x-32bit 73_VSA100-4x-32bit 74_VSA100-4x-32bit
ATi Radeon 8500 72_R200-4x-2x-32bit 73_R200-4x-2x-32bit 74_R200-4x-2x-32bit

75_UltimaIX-StartSave_1024x768x32bpp

76_UnrealTournament_1024x768x32bpp

77_1024x768x16bpp


UltimaIX UnrealTournament UnrealTournament 2004
NVIDIA GeForce 2 75_GF2-4x-2x-16bit 76_GF2-4x-2x-32bit 77_GF2-2x-2x-32bit
NVIDIA GeForce 3 75_GF3-4xS-2x-16bit 76_GF3-4xS-2x-32bit 77_GF3-2x-2x-32bit
NVIDIA GeForce FX 75_NV38-8xS-2x-32bit 76_NV38-8xS-2x-32bit 77_NV38-8xS-32bit
Kyro 2 75_Kyro2-4x-2x-32bit 76_Kyro2-4x-2x-32bit 77_Kyro2-2x-2x-32bit
Voodoo5 75_VSA100-4x-16bit 76_VSA100-8x-16bit 77_VSA100-2x-16bit
Radeon 8500 75_R200-4x-2x-32bit 76_R580-6x-16x-32bit
ภาพ จาก Radeon X1900XT
77_R200-2x-2x-32bit

เอาล่ะครับเรื่องราวของ A.A.C ใน ภาคการ์ดจอ (ซึ่งจะมีภาคอุปกรณ์อื่นๆต่อไปอีกหรือเปล่าก็ไม่รู้ครับ) ก็จบลงไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนะครับ แม้ว่าเนื้อหาส่วนใหญ่ออกจะโบราณไปพอสมควร แต่จุดประสงค์ที่แท้จริงของผมคือ อยากจะให้เพื่อนๆเกิดความรู้ชอบ และสนุกในการศึกษาเรื่องราวของการ์ดจอ เหมือนกับที่ผมกำลังรู้สึกอยู่ครับ ดังนั้นผมจึงทำบทความ A.A.C ขึ้นมาครับ โดยมุ่งเน้นนำเสนอเนื้อที่เป็นพื้นฐานเพื่อที่จะเป็นประโยชน์ ต่อการนำไปใช้ในการศึกษาเรื่องราวของการ์ดจอตัวใหม่ๆที่กำลังจะออกมาในอนาคต โดยมีรูปแบบการนำเสนอ ผ่านประวัติของผู้ผลิตชิพกราฟิครายต่างๆ สลับกับเนื้อหาทางวิชาการ สลับกับผลการทดสอบ หรือ BenchMark และสลับกับการชม Image Quality ของเกมที่ได้จากการ์ดจอยี่ห้อต่างๆ เพื่อที่จะทำให้ท่านผู้อ่านไม่เกิดความรู้สึกเบื่อระหว่างที่อ่านบทความครับ สุดท้ายนี้ก็ขอ ขอบคุณทุกท่านที่กรุณาเข้ามาอ่านบทความชุด A.A.C ภาค การ์ดจอครับ ขอให้ทุคท่านโชคดีมีความสุข สวัสดีครับ _/\_

บทความโดย IonRa

e-mail : ionra@live.co.uk

บทความนี้เคยนำเสนอในเว็บบอร์ดของ

vmodtech.com

unlimitpc.com

overclockzone.com

0 ความคิดเห็น: