FSB คือ อะไร

คำศัพท์ที่ควรทราบก่อนอ่านบทความนี้

Clock ในที่นี้จะหมายถึง สัญญาณนาฬิกาที่ใช้ในการกำหนดจังหวะความช้าเร็วในการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ

Clockspeed คือ ความเร็วสัญญาณ นาฬิกา ที่ใช้ในการกำหนดจังหวะในการทำงาน

M ย่อมาจาก Mega คือ หนึ่งล้าน

Hz ย่อ มาจากคำว่า hertz แปลว่า รอบต่อวินาที

ตัวอย่าง CPU มี Clock speed 600 Mhz หมายความว่า CPU ทำงานที่ 600ล้านรอบต่อวินาที หรือ 600 ล้านคำสั่งต่อวินาที

เนื้อหา

FSB = คือ Front Side Bus หมายถึง การส่งข้อมูลระหว่าง CPU และ ชิพเซ็ต NorthBridge

FSB01

นอกจาก FSB แล้วยังมี BSB (Back Side Bus) ซึ่งก็คือ ระบบบัสที่ใช้ในการส่งข้อมูลระหว่าง CPU และหน่วยความจำ cache ซึ่งจะมีความเร็วสูงกว่า FSB โดยผมยังจะไม่กว่าถึง BSB ในที่นี้น่ะครับ

Bandwidth

Bandwidth คือ อัตราการส่งข้อมูลครับ เราสามารถคำนวณ Bandwidth หรือ อัตราการส่งข้อมูล ของ FSB ได้จากข้างสูตรข้างล่างนี้ครับ

(Bandwidth = (ความเร็วสัญญาณนาฬิกาของ FSB) X (จำนวนครั้งที่สามารถส่งข้อมูลออกไปได้ภายใน 1 สัญญาณนาฬิกา) X (ความกว้างของ FSB) )

ตัวอย่าง

FSB มีความกว้าง 32 Bit มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาที่ใช้ในการส่งข้อมูล 100 MHz โดยใน 1 สัญญาณนาฬิกาสามารถส่งข้อมูลได้ 4 Byte

วิธีทำ

ความกว้างของ FSB มีขนาด 32 Bit หมายความว่ามีความกว้าง 4 Byte (1 Byte = 8 Bit)(32/8 = 4)

(Bandwidth = (100 MHz) X (4 x 4 Byte) )

(1600 MB/s = (100 MHz) X (4 x 4 Byte) )

ในปัจจุบันนี้เราใช้หน่วยในการวัดความเร็วของ FSB เป็น MT (Megatransfers per second) แทนหน่วย MHz ที่ใช้ในสมัยก่อนครับ เนื่องจาก หน่วย MT สามารถบอกปริมาณการส่งข้อมูลได้ของ FSB ได้

ตัวอย่าง

FSB มีความเร็วสัญญาณนาฬิกา 200 MHz และสามารถส่งข้อมูลได้ 4 ครั้งใน 1 สํญญาณนาฬิกา(per Second)

วิธีทำ

200 Mega x 4 per Second = 800 MT (Megatransfers per second)

ความสัมพันธ์ของ FSB กับ CPU

เนื่องจากความเร็วสัญญาณนาฬิกาของ CPU นั้นมีการพัฒนาไปไกลกว่าความเร็วของ FSB มากมายหนักทำให้ภายใน CPU ต้องมีตัวคูณเพื่อทำให้ FSB สามารถทำงานกับ CPU ได้

ตัวอย่าง

CPU ความเร็ว 1,000 Mhz ใช้ FSB 100 Mhz หมายความว่า CPU ตัวนี้มีตัวเป็นคูณ 10 (10 X 100 = 1000)

ความหมายของตัวคูณ

ตัวอย่าง CPU มีตัวคูณ 10 หมายความว่า CPU สามารถทำงานได้ 10 งานต่อ FSB 1 Hzที่ส่งเข้ามา

ตัวอย่าง หาก FSB เป็น 100 MHz CPU มีตัวคูณ 6 หมายความว่า CPU ทำงานที่ 600 Mhz (CPU สามารถทำงานได้ 6 งานต่อ FSB 1 Hzที่ส่งเข้ามา)

ความสัมพันธ์ของ FSB กับ RAM (FSB/Memory Ratio)

FSB นั้นจะมีผลต่อความเร็ว RAM ที่เราจะนำมาใช้ด้วยเพราะว่า แรม นั้นต้องทำงานร่วมกับตัวควบคุมหน่วยความจำที่อยู่ในชิพเซต Northbridge ที่ใช้ FSB ในการเชื่อมต่อกับ CPU

ในสมัยก่อนเราใช้อัตราความเร็ว FSB ต่อความเร็ว RAM เท่ากัน หรือเป็น 1 ต่อ 1 (ที่เรียกว่า FSB/Memory Ratio 1:1) นั้นเองครับ เช่น เมนบอร์ด FSB 100MHz ใช้งานร่วมกับ SDRAM 100 MHzเป็นต้น

ต่อมาความเร็วหน่วยความจำนั้นมีการพัฒนาเหนือกว่าความเร็ว FSB มากทำให้ FSB/Memory Ratio ไม่เป็น 1 : 1 อีกต่อปแล้ว

ตัวอย่างเช่น FSB 100 MHz ต่อ DDR 133MHz ดังนั้น FSB / Memory Ratio จะเป็น 3 : 4 ครับ และมีค่า effective memory clock 266 Mhz (เพราะ DDR มีการทำงานที่ Clock ขาขึ้น และ Clock ขาลงของ สัญญาณนาฬิกา ดังนั้น 133 x 2 = 266)

ความสัมพันธ์ระหว่างอุปกรณ์พ่วง และ FSB

สำหรับอุปรกรณ์ตัวพ่วงใน สล็อต PCI, AGP ในอดีตอุปกรณ์พวกนี้ถูกกำหนดจังหวะการทำงานด้วย FSB แต่ในปัจจุบันอุปกรณ์พวกนี้(รวมถึง PCI-E)มีแหล่งกำเนิดสัญญาณนาฬิกาในตัวมันเองทำให้ทำงานร่วมกับ FSB ในแบบ asynchronou ได้ครับ


1 ความคิดเห็น:

Ddding28 กล่าวว่า...

ดีครับ ได้ความรู้ ถึงจะเป็นความรู้พื้นฐาน แต่สำหรับคนที่ยังไม่รู้ มันมีประโยชน์มากครับ