A.A.C ตอนที่ 6 : การ์ดจอทางเลือกใหม่ ภาคแรก

ท่านเคยรู้จักความหมายของหนังทางเลือก หรือการแพทย์ทางเลือกไหมครับ

หนังทางเลือก คือ หนังที่ไม่มีการฉายในโรงหนังทั่วไปแต่มีการฉายจำกัดโรง เพื่อให้ผู้ดูหนังได้ดูหนังเรื่องอื่นๆที่ไม่ใช่หนังที่มีฉายตามโรงหนังทั่วไป เช่นโรงหนังลิโด

การแพทย์ทางเลือก คือ การรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆที่นอกเหนือไปจากการแพทย์แผนปัจจุบันที่มีอยู่ การแพทย์ทางเลือกได้แก่ การฝังเข็ม การใช้สมุยไพรพื้นบ้าน เป็นต้น

การ์ดจอทางเลือก คือ การ์ดจอต่างๆที่นอกเหนือไปจาก ATi และ Nvidia นั้นเองครับ โดยการ์ดจอทางเลือกในที่นี้กระผมไม่ขอรวมการ์ดจอออนบอร์ด(IGP) เข้าไปนะครับ เพราะสำหรับการ์ดจอออนบอร์ดหรือ IGP นั้นผมขอนิยามว่าเป็น "การ์ดจอจำยอม" หรือ "การ์ดจอจำเป็น" หรือ "การ์ดจอพอเพียง" ก็แล้วกันน่ะครับ แต่สำหรับการ์ดจอแยกที่เป็นการ์ดที่ไม่ได้ใช้ชิปของ 2 ยี่ห้อใหญ่ (หรือการ์ดจอที่ชิปของผู้ผลิตอื่นๆนอกเหนือจาก ยี่ห้อ ที่กำลังดังๆในยุคนั้นๆ ครับ)

ในยุคเริ่มต้นของสงครามกราฟฟิก 3D นั้นเราแถบไม่สามารถมองออกได้เลยว่าการ์ดใดเป็นการ์ดทางเลือกบาง เพราะการ์ดจากทุกค่ายนั้นชื่อเสียงพอๆกันหมดครับ

เราเริ่มที่จะมองออกว่า การ์ดจอใดเป็นการ์ดทางเลือก ในช่วงเวลา ที่ ATi และ Nvidia ขึ้นมาครองตลาดการ์ดจอเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และในช่วงเวลานั้นเดินไปไหนก็จะเห็นแต่การ์ดจอที่ใช้ชิปของ 2 ยี่ห้อนี้เท่านั้น ส่วนการ์ดจอที่ใช้ชิปจากผู้อื่นๆ การ์ดเหล่านั้นก็จะกลายเป็นการ์ดจอของแปลก และถูกผู้ใช้มองเป็นการ์ดทางเลือกในที่สุดครับ

การ์ดจอทางเลือกเหมาะกับใคร ?

คนที่จะใช้การ์ดจอทางเลือกก็คงเหมือนกับ คนที่เบื่อที่จะดูหนังทั่วๆไป แล้วจึงไปหาหนังทางเลือกมาดูไงครับ หรือพูดง่ายๆก็คือ คนที่เบื่อ ATi และ Nvidia ก็จะไปหาการ์ดพวกนี้มาใช้ ทั้งที่การ์ดพวกนี้ไม่ได้ให้ประสิทธิภาพที่ดีไปกว่า 2 ยี่ห้อนี้เลยครับ

มารู้จักการ์ดจอทางเลือกแต่ละตัวกันดีกว่า โดยผมจะขอเล่าให้ฟังเป็นยุคๆไปนะครับ

ยุคที่ 1

การ์ดในกระแสของยุคที่ 1 ประกอบด้วย

  • การ์ดระดับสูง GeForce256 (DX7), Radeon (DX7), ATi Rage Furry Maxx(DX6) Matrox G400 Series (DX6), Voodoo4, 5 (DX6)
  • การ์ดระดับกลาง TNT, ATi Rage 128, Voodoo3, 2, intel i740 (ทั้ง 6 ตัวรองรับ DX6)
  • การ์ดระดับล่าง Riva 128 , ATi Rage Pro (ทั้ง 2 ตัวรองรับ DX5 )

1. SIS 300

vr300box

SIS 300 เป็นชิฟกราฟฟิกที่มีคุณสมบัติ DX6 ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่มีอยู่ในการ์ดระดับกลางในเวลานั้นครับ แต่ SIS 300 มีราคาที่เทียบเท่ากับการ์ดจอระดับล่างครับ ด้วยเหตุผลเหล่านี้ทำให้ Winfast ถึงขนาดนอกใจ Nvidia ไปมีกิ๊กกับ SIS เลยครับ

sis300-big

ภาพการ์ดจอ Winfast VR300 ที่ใช้ชิปกราฟฟิก SIS300 ครับ

แม้ว่า SIS 300 จะมีคุณสมบัติต่างๆทางกราฟฟิกเหมือนการ์ดระดับกลางที่ใช้ แต่ประสิทธิภาพที่ได้ของ SIS300 นั้น มีคะแนนพอๆกับราคาค่าตัวของมันที่อยู่ในระดับล่างเท่านั้นเองครับ

sis300 Quack3

แต่ถึงแต่ถึงอย่างไรก็ตาม มุขนี้ SIS ก็โกยเงินได้เยอะครับ เพราะว่าใครๆก็อยากได้การ์ดที่มี Feature ที่ทันสมัยและมีราคาถูกครับ

และหลังจากนั้น SIS ก็ออกชิปตัวใหม่ชื่อ SIS 305 ที่มีความเร็ว Core และ ความเร็ว RAM เพิ่มขึ้นจาก SIS 300 แต่ทั้งคู่ยังคงใช้ DX6 เหมือนกันครับ

2. S3 Savage 2000 นั้นเรียกได้ว่ามีคุณสมบัติ T&L ของการ์ดจอระดับสูงอยู่ในตัวครับ และตำแหน่งของมันก็โดนวางให้เป็นการ์ดระดับสูงด้วยครับ

savage2000

q3-2

q3-1

ภาพเกม Serious Sam ที่ได้จาก S3 Savage 2000 (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)

savage2000-ssam-800

ภาพเกม Serious Sam ที่ได้จาก GeForce 3 (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)

gf3-ssam-1024

ยุคที่ 2

รายชื่อการ์ดในกระแสในยุคที่ 2

การ์ดระดับสูงคือได้แก่ : GeForce 3 (DX 8.0), Radeon 8500 (DX 8.1)

การ์ดระดับกลางได้แก่ : GeForce 256, GeForce 2, Radeon 7x00 (ทั้ง 3 ตัวใช่ DX7)

การ์ดระล่างได้แก่ :TNT, ATi Rage (ทั้งคู่ใช้ DX6)

1. Kyro และ Kyro II นี้ก็ถือว่าเป็นการ์ดทางเลือกเป็นที่ดีตัวหนึ่ง ที่จัดอยู่ในกลุ่มการ์ดระดับกลางในช่วงเวลานั้น แม้จะไม่มีคุณสมบัติ T&L ที่การ์ดระดับกลางทั่วไปควรจะมีกัน แต่ด้วยคุณสมบัติ TBR ทำให้ Kyro II สามารถทำ FPS ได้เหนือกว่า GeForce 2 และ ได้ฉายา GeForce 2 Killer ไปครองครับ อ่านรายละเอียดของ Kyro ได้ที่ A.A.C ตอนที่ 3 เรื่องเล่าจาก PowerVR ถึง Kyro => http://ionra.spaces.live.com/blog/cns%21CE0E056D28A006A9%21561.entry

3. SIS 315 นี้เป็นการ์ดจอที่มีคุณสมบัติ T&L ที่ราคาถูกที่สุดในยุคนั้นเลยครับ เพราะ GeForce 2 MX 200 แรม 64 MB ราคาประมาณ สองพันกว่า แต่ SIS 315 ซึ่งเป็นการ์ดที่มี T&L เหมือนกัน และแรม 64 MBเท่ากัน ยี่ห้อ ECS อยู่ที่ประมาณ 1050 บาทเอง ขณะนั้น TNT 2 m64 ที่เป็นการ์ดระดับล่างไม่มี T&L ราคายังอยู่ประมาณ 1200 แหนะ เหตุผลนี้ทำให้การ์ดจอที่ใช้ GPU ชื่อ SIS 315 เป็นการ์ดที่น่าสนใจอีกตัวในยุตที่ 2 นี้ครับ ด้วยมุขเดิมของ SIS ที่ใช้ Feature ของการ์ดระดับกลาง แต่ขายของในราคาระดับล่างครับ แต่คราวนี้ต่างออกไปจาก SIS 300 ตรงที่ประสิทธิภาพของ SIS315 นั้น สามารถจัดการกับ GeForce 2MX 200 ซึ่งเป็นน้องสุดท้องของตะกูล GeForce 2 ได้อย่างสบายๆเลยครับ และด้วยการที่สื่อส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับ กราฟฺ Benchmark มากกว่าที่จะแสดงคุณภาพของภาพให้ผู้ใช้สินค้าดู ทำให้คนหลงไปซื้อ SIS 315 เติมบ้านเติมเมือง ทำให้การ์ดของ SIS รุ่นนี้ขายดีมากๆ จนทำให้ SIS คิดการใหญ่ขึ้นมาครับ เรื่องราวจะเป็นยังไงเราติตตามดูต่อไปในยุคที่ 3 ก็แล้วกันครับ

sis315-front-s

SIS 315 q3-16

SIS g-32

แหน่! เป็นใคร เห็นกราฟแบบนี้ จากสื่อต่างๆที่นำเสนอแล้วละก็ ต้องรีบควักกระเป๋าไปซื้อ SIS 315 มาใช้ ใช่ไหมครับ

แต่! มาดูคุณภาพของภาพที่ สื่อน้อยสื่อจะนำเสนอกันดีกว่าครับ ก่อนที่ท่านจะตัดสินใจซื้อ SIS 315 ครับ (IonRa นายมาบอกอะไรตอนนี้ (หนี้มันปาเข้ากี่ปี้แล้ว))

คุณภาพของเกม Serious Sam ที่ได้จาก SIS 315 O_o (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)

sis-ssam1-800

คุณภาพของเกม Serious Sam ที่ได้จาก GeForce 3(คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)

gf3-ssam1-1024

สำหรับงานนี้ผมคิดว่าคนที่โดน SIS คงมีไม่น้อยแน่นอน มิชะนั้น SIS จะมีกำไรเป็นกอบเป็นกำถึงขั้นไปตั้ง Brand การ์ดจอใหม่แยกจาก SIS เลยเหรอครับ

3. Trident Blade XP

สำหรับการ์ดตัวนี้การ์ดที่โด่ดเด่นที่สุดในเรื่อง 3D ของ Trident เลยก็ว่าได้ครับ ที่สำคัญการ์ดตัวนี้ไม่มีปัญหาทางด้าน Driver อีกด้วย Trident Blade XP สามารถเล่นเกมที่การ์ดจอ DirectX 7 ทั่วไปควรจะเล่นได้หมดทุกเกม และภาพที่แสงผลออกมาก็ไม่มีปัญหาใดๆทั้งสิน แต่ที่หน้าเสียดายก็คือ Trident BladeXP ให้ FPS ได้หน่อยกว่า SIS 315 แต่กลับมีราคาที่แพงกว่า SIS 315 จึงทำให้ Trident Blade XP ไม่ได้รับความนิยมครับ

blade

คุณภาพของเกม Serious Sam ที่ได้จาก Trident Blade XP สามารถแสดงผลได้ถูกต้องตามมาตรฐาน DX7 แม้จะไม่เนียนเท่า GF 3 ที่ใช้ DX8 ก็ตามครับ (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)

bladexp-ssam1-800

computex-fill

ว่าแล้วเราก็มาดูภาพเปรียบเทียบ 3D Mark 2000 ที่ได้จาก S3 Savage 2000, SIS 315 , Trident Blade XP และ GeForce 3 กันดีกว่า

ข้างล่าง ภาพที่ได้จาก GeForce 3 คลิกดูภาพใหญ่

gf3-game31-1024

ข้างล่าง ภาพที่ได้จาก Trident BladeXP คลิกดูภาพใหญ่

bladexp-game31-800

SIS 315 การเกรี่ยสีทำได้แย่มากครับ คลิกที่ รูปดูภาพใหญ่จะเห็นความต่างได้จัดเจนเลยครับ (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)

sis-game31-800

ข้างล่าง ภาพที่ได้จาก Savage 2000 มองผ่านๆก็รู้ (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)

savage2k-game31-800

*หมายเหตุ คุณภาพของภาพสามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับเวอร์ชั่นของไดรเวอร์ที่ใช้ครับ

เพิ่มเติมครับ : ในยุคนี้จริงๆแล้วควรจะมีการ์ดจอที่ใช้ชิป S3 Savage XP ด้วยครับ แต่ว่าตอนนั้น S3 กำลังทำการควบรวมกิจการกับทาง VIA อยู่ครับจึงทำให้ S3 การพัฒนาสินค้าได้ช้า และออกไม่ทันขายครับ S3 จึงยกเลิกการจำหน่ายชิป S3 Savage XP ไปครับ ส่วนเรื่องรายละเอียดของ S3 Savage XP นั้นแท้จริงแล้วก็คือ S3 Savage 2000 ที่นำมา Overclock นั้นเองครับ

สำหรับในยุคที่ 2 นี้การ์ดทางเลือกที่ประสบความสำเร็จสูงสุดคือ sis 315 ครับ เพราะมีราคาที่ถูกมากๆครับ จึงมีผู้ซื้อเพื่อนำไปประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ราคาประหยัดเป็นจำนวนมากครับ

ยุคที่ 3

รายชื่อการ์ดในกระแสในยุคที่ 3

การ์ดระดับสูงคือได้แก่ : GeForce 4 Ti()(DX 8.1), Radeon 9700(DX 9), Radeon 9500(DX 9), Matrox Parhelia 512 (PS 1.3, VS 2.0 )

การ์ดระดับกลางได้แก่ : GeForce 4 MX 440, 460(DX 7)GeForce 3 (DX 8.0), Radeon 9000 (DX 8.1),

การ์ดระล่างได้แก่ :GeForce 4 MX 440 SE(DX 7), Radeon 7500 (DX 7)

xabre-totem

1. Xabre

สำหรับในยุคที่ 2 นี้ทาง SIS ได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากกับ SIS 315 ทำให้ SIS คิดว่าตัวเองหน้าจะมีศักภาพพอที่จะแข่งขันในตลาดการ์ดจอสำหรับเล่นเกมศ์กับผู้ผลิตการจอรายใหญ่ๆอย่าง NVIDIA และ ATi ได้แต่ปัญหาคงติดอยู่ตรงที่ชื่อของ SIS นั้นเองครับ ที่ถูกลูกค้าอย่างเราๆมองว่าเป็นของ ราคาถูก และ ไม่ค่อยจะมีประสิทธิภาพ ดังนั้นทาง SIS จึงตัดสินใจสร้างยี่ห้อการ์ดจอใหม่ขึ้นโดยใช่ชื่อว่า Xabre ครับ โดย SIS หวังว่าชื่อ Xabre นั้นจะเข้าถึงลูกค้าในตลาดเกมมากกว่าชื่อ SIS ที่ตนเคยใช้มาครับ และแล้วสิ่งที่ SIS หวังไว้กับชื่อ Xabre ก็เป็นจริงครับ เพราะว่ามีผู้ผลิตการ์ดนำชิป Xabre ของ SIS ไปผลิตเป็นการ์ดจอสำหรับเล่นเกมมายเช่น Inno 3D, PowerColor, DFI, Chaintech, ECS, Jaton, Triplex, Joytech, Soltek และ อื่นๆ และนอกจากนี้ได้มีสือต่างๆนำการ์ดที่ใช้ชิป Xabre ไปทำการทดสอบ และเผยแพร่มากมายครับ

xabre600-front

แน่นอนครับ SIS เล่นมุขเดิมอีกแล้ว โดย SIS ได้นำ DX 8.1 ซึ่งมีอยู่ในการ์ดระดับสูงมาใส่ใน Xabre ซึ่งการ์ดระดับล่าง และกลาง ซึ่งทำให้ Xabre มีความโดดเด่นขึ้นมากในวงการการ์ดจอ ครับ แต่ Xabre ก็เจอปัญหาอยู่นิดนึงครับ ตรงที่ ทาง ATi นันได้ออกการ์ดจอในระดับกลางซึ่งรอง DX 8.1 เช่นนั้นก็คือ Radeon 9000 นั้นเองครับ

Xabre 200 และ 400 จะเป็นการ์ดในตลาดระดับล่าง และกลางค่อนล่าง ครับ

และ Xabre 600 จะเป็นการ์ดในระดับกล่างค่อนบนนั้นเองครับ

ความลับของ xabre คือ

คุณสามารถเข้าไปปรับค่าของ Texture Turbo Mode ของ Xabre ใน Registry ได้ครับ ซึ่งการปรับค่าตรงนี้ใน Control Panel ไม่มี

registry: HKEY_LOCAL_MACHINE\SYSTEM\CurrentControlSet\Control\Video\{4EF3E084-AFC7-4AE5-9AB3-EB7231C834D8}\0000,

คลิกดูภาพใหญ่

registry

Texture Turbo mode (TT) ใน xabre นั้นสามารถ ปรับค่าได้ 3 ระดับ ได้แก่

TT = 3 (Default) จะได้คุณของภาพต่ำสุด แต่มีความเร็วสูงสุด (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)

TT3

TT = 1 คุณภาพของภาพที่ได้จะมากกว่า TT = 3 แต่ความเร็วจะตกลง (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)

TT1

TT = 0 จะเป็นระดับที่มีคุณภาพของภาพที่ได้ดีที่สุด แต่ความเร็วจะต่ำสุด (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)

TT0

ในส่วนของ FPS นั้น Xabre ทำออกมาได้ดีครับ เล่นซะ! GeForce 4MX และ Radeon 9000 ต้องหนาวๆ ร้อนๆ กับ SIS ไปเลยครับ

q3

และในส่วนของคุณภาพของที่ได้นั้น Xabre ก็ทำได้ดีกว่าการ์ดรุ่นพี้อย่าง SIS 315 เยอะมากๆเลยครับ

ภาพที่ได้จาก Xabre 200 (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)

xabre-game31-1024

ภาพที่ได้จาก SIS 315 (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)

sis-game31-800

ภาพเกมต่างๆที่มีปัญหา กับ Xabre (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)

xabre400-dfbhd1-bug xabre-ssam2-bug-aa

แต่ Xabre ก็มีปัญหากับการเล่นเกมบางเกม และประกอบกับการเป็นชิปกราฟฟิกน้องใหม่ ทำให้ Xabre ได้รับความนิยมน้อยกว่า GeForce และ Radeon แต่ทาง SIS ก็ถือว่าตนประสบความสำเร็จเพราะไม่มีครั้งไหนในประวัติศาสตร์ของ SIS ที่ SIS บุกเข้ามาในตลาดเกมได้ลึกขนาดนี้มาก่อน เพราะในอดีตนั้น SIS ได้แต่วนเวียนอยู่แต่ในตลาดระดับล่าง แต่ Xabre สามารถยกระดับการ์ดจอของ SIS ขึ้นมาสู่ตลาดระดับกลางได้อย่างสบายๆเลย

ECS K7S7AG เมนบอร์ดที่นำชิป Xabre 200 พร้อม กับแรม Samsung 64mb มาทำเป็นการ์ดจออนบอร์ด

DSCN0721

Xabre คงเป็นชิปกราฟฟิกนอกกระแสเพียงรายเดียวที่ออกมาชิงส่วนแบ่งการตลาดในยุคนี้ ท้ามกลางกระแสการต่อสู่อันร้อนแรงของ ATi ,Nvidia และ Matrox แต่ Xabre ก็ยังคงอยู่รอดมาได้ครับ และ SIS ก็ได้วางแผ่นที่จะทำ Xabre II ต่อ

สำหรับทาง S3 ในช่วงเวลานั้นไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ ในตลาดการ์ดจอครับ แต่ S3 ก็ช่วยเสริมความแข่งแกร่งให้ VIA ในตลาดชิปเซตได้เป็นอย่างดีเลยครับ

ยุคที่ 4

รายชื่อการ์ดจอในกระแสของยุคที่ 4

การ์ดจอในระดับสูง GeForce FX5800,GeForce FX5900, Radeon 9700, Radeon 9800 (ทุกตัวรองรับ DX9)

การ์ดจอในระดับกลาง GeForce FX5600,GeForce FX5700, Radeon 9600, Radeon 9500 (ทุกตัวรองรับ DX9)

การ์ดจอในระดับล่าง GeForce FX5200 (DX 9), Radeon 9200(DX 8.1)

หากท่านดูรายชื่อการจอในยุคนี้แล้ว ท่านจะสังเกตุเห็นความแตกต่างจากในยุคอื่นๆที่ผ่านมาครับ นั้นก็คือ NVIDIA ได้ทำให้ชิปกราฟฟิกของตนทั้ง 3 ระดับ อันได้แก่ ระดับบน กลาง และล่าง สนับสนุนเทคโนโลยีใหม่เหมือนกัน นั้นก็คือ ชิป Geforce FX ทั้ง 3 ระดับของ NVIDIA สนับสนุน DX 9 ทั้งหมดทุกตัวนั้นเองครับ ส่วนทาง ATi ก็ไม่น้อยหน้าให้การสนับสนุน DirectX 9 จนถึงระดับกลางเลยครับ แต่ Radeon 9200 ซึ่งเป็นการ์ดจอระดับล่างของ ATi ยังคงใช้ Direct X 8.1 อยู่ครับ

งานนี้ความลำบากคงจะตกอยู่ที่ผู้ผลิตการ์ดจอทางเลือกอย่าง SIS และ S3 ครับ เพราะในยุคก่อนๆนั้น SIS และ S3 จะอาศัยความได้เปรียบโดยการนำเอาคุณสมบัติของการ์ดจอระดับสูงซึ่งทาง ATi และ NVIDIA ไม่ได้นำมาใส่ในการ์ดระดับกลาง และล่าง SIS และ S3 ก็จะนำคุณสมบัติเหล่านั้น มาใส่ในการ์ดจอของตนที่จะวางจำหน่ายในระดับกลาง และระดับล่างของตน ซึ่งวิธีดังที่กล่าวจะทำให้การ์ดจอทางเลือกมีความโดดเด่นขึ้นมาเป็นอย่างมากครับ แต่เมื่อการ์ดในกระแสมีการกระจ่ายคุณสมบัติให้การ์ดจอทุกระดับของตนจนครบเช่นนี้ แน่นอนว่างานนี้การ์ดจอในกระแส และการ์ดจอทางเลือกจะต้องชนกันด้วยประสิทธิภาพต่อราคาอย่างเดียวเท่านั้นครับ

1. XGI (eXtreme Graphics Inc.)

SIS ได้แยกแผนกพัฒนา GPU ออกจากบริษัทหลักของตน เพื่อให้การบริหารงานคล่องตัวขึ้น โดย SIS ได้ตั้งชื่อให้บริษัทใหม่ของตนว่า XGI หรือ eXtreme Graphics Inc. เดิมที่ SIS จะใช้บริษัทนี้สร้าง GPU ที่ชื่อว่า Xabre II ออกมาจำหน่าย แต่และแล้วในวินาทีสุดท้าย SIS ก็เปลี่ยนใจขาย XGI ให้กับทาง Trident ไป

Trident ได้เปลี่ยนแผนเดิมจากที่ SIS เคยวางแผ่นไว้ว่าจะผลิต GPU ที่ชื่อว่า Xabre II เปลี่ยนมาเป็นผลิต GPU ที่ชื่อว่า Volari แทนครับ

และแล้ว XGI ก็ปล่อย GPU ในตระกูล Volari ของตนออกมาครบทั้ง 3 ระดับเลยครับ เพื่อตามประกบ GPU ของ ATI และ NVIDIA ชนิดที่เรียกว่าตัวต่อ

รายชื่อ GPU ของ XGI ทั้ง 3 ระดับ

การ์ดจอในระดับสูง XGI Volari V8 Duo, XGI Volari V8 และ XGI Volari V8 Ultra

การ์ดจอในระดับกลาง XGI Volari V5 และ XGI Volari V5 Ultra

การ์ดจอในระดับล่าง XGI Volari V3

สำหรับ XGI นี้เป็นเสมือนสิ่งที่แสดงถึงการร่วมมือกันของ SIS กับ Trident นั้นเองครับ เราลองมาดูดีกว่าว่า XGI จะไปได้ถึงไหนครับ

ภาพการ์ดจอ XGI Valari V8 Duo ของยี่ห้อ Clube 3D (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)

club3d_xgi_card_front_800 club3d_xgi_pcb_front_800

club3d_xgi_card_back_800 club3d_xgi_pcb_back_800

BitFluent Architecre

การทำ MultiGPU ของ XGI Valari V8 Duo นั้นมีความหน้าสนใจอยู่ตรงที่ XGI ได้ตัดชิปตัวที่จะมาทำหน้าที่เป็นสะพาน (Bridge) เชื่อมการทำงานระหว่างชิปตัวที่ 1 และตัวที่ 2 ออกไปจากแผงวงจรครับ แต่ XGI ได้ทำการ Integrate Bridge เข้าไปในตัว GPU เลยครับ และได้แบ่งให้ GPU ตัวหนึ่งเป็นทำหน้าเป็น Master และอีกตัวหนึ่งทำหน้าเป็น Slave

GPU ตัวที่ทำหน้าที่เป็น Master จะทำหน้าที่รับข้อมูลจากระบบบัสเข้ามา และทำการแบ่งงานให้ GPU ตัวที่เป็น Slave ช่วยกันประมวลผลครับ

xgi-duo-design2

SpecfiV8

image029

ภาพ 3DMark 03 ที่ได้จาก XGI Volari V8 Duo (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)

V8_3Dmark03_XGI_PNG

ภาพ 3DMark 03 ที่ได้จาก NVIDIA GeForce FX 5950 (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)

V8_3Dmark03_nvidia

AM3

ภาพ Aquar Mark ที่ได้จาก XGI Volari V8 Duo (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)

am3-xgi

ภาพ Aquar Mark ที่ได้จาก NVIDIA GeForce FX 5950 (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)

am3-nv

แม้ว่าในโปรแกรม Benchmark XGI จะมีทำได้ดีก็จริงก็จริงแต่ในการเล่นนั้น XGI กลับล้มไม่เป็นท่า (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)

F X2 UT2003

ภาพเกม Command & Conquer Generals: Zero Hour ที่ได้จาก XGI Volari V8 Duo (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)

xgi_generals_large

ภาพเกม Command & Conquer Generals: Zero Hour ภาพ Reference (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)

reference_generals_large

และแล้วจุดจบของ XGI สำหรับตลาดเกม 3D ก็จบลงเพราะเรื่องของ Driver ที่ยังทำงานกับเกมในช่วงเวลานั้นไม่ดีพอครับ แม้ทาง XGI จะทำการออก Driver ตัวใหม่มาทำการแก้ไขปัญหาต่างๆแล้วก็ตาม แต่มันก็สายเกินไปเสียสำหรับ XGI

2. S3 Delta Chrome

สำหรับ S3 Delta Chrome ถือว่าเป็นกลับอีกครั้งสำหรับ S3 ที่หายหน้าหายตาไปนานจากตลาดการ์ดจอแยกเป็นระยะเวลาถึง 3 ปี หลังจากที่ได้ออกการ์ดจอ S3 Savage 2000 ไปเมื่อปลายปี 1999 การกลับมาของ S3 ครั้งนี้ S3 ได้มุ่งที่จะบุกตลาดระดับกลางค่อนล่าง ระดับกลาง และระดับกล่างค่อนสูง โดย S3 ได้ส่งการ์ดออกมา 3 รุ่นดังนี้

S3 Delta Chrome S8 Nitro : สำหรับชิงส่วนแบ่งในตลาดระดับกลางค่อนบน

  • เทคโนโลยีการผลิต 130 nm
  • GPU Speed 325 Mhz
  • DirectX 9 SM 2.0
  • 8 Pixel Shader
  • 8 Vertex Shader
  • DDR 350MHz (700MHz DDR) 128bit 128MB (Max 256 MB)

S3 Delta Chrome S8 : สำหรับชิงส่วนแบ่งในตลาดระดับกลาง

  • เทคโนโลยีการผลิต 130 nm
  • GPU Speed 300 Mhz
  • DirectX 9 SM 2.0
  • 8 Pixel Shader
  • 8 Vertex Shader
  • DDR 320MHz (650MHz DDR) 128bit 128MB (Max 256 MB)

    S3 Delta Chrome S4 Pro : สำหรับชิงส่วนแบ่งในตลาดระดับกลางค่อนล่าง

  • เทคโนโลยีการผลิต 130 nm
  • GPU Speed 300 Mhz
  • DirectX 9 SM 2.0
  • 4 Pixel Shader
  • 4 Vertex Shader
  • DDR 300MHz (600MHz DDR)

    ภาพ S3 Delta Chrome S8 Nitro (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)

    s3_s8nitro

    ภาพ S3 Delta Chrome S8 (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)

    s3_deltachrome_S8

    ภาพ S3 Delta Chrome S4 Pro (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)

    deltachrome_S4

    สำหรับเกม Halo นั้น S3 ทำได้ดีมากครับ

    halo_1280_pure

    แต่สำหรับ FarCry S3 ก็พอไหวครับ

    farcry_1280_pure

    และก็แน่นอนครับกับปัญหา Driver ที่การ์ดจอทางเลือกแทบทุกยี่ห้อต้องเจอครับ

    ภาพที่ได้จาก S3 Delta Chrome(คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)

    s3_sturmovik1_bg

    ภาพที่ได้จาก ATi Radeon 9600(คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)

    ati_sturmovik1_bg

    สำหรับ S3 ในรุ่น Delta Chrome นี้ประสิทธิภาพทำออกมาได้ดีนะครับ ส่วน Driver แม้จะมีปัญหาอยู่แต่คงไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้การ์ดในตระกูลนี้ขายได้น้อย แต่สาเหตุคงมาจากการที่ S3 ทำการจำหน่ายการ์ดของตัวเองด้วยตัวเอง ทำให้สินค้าของ S3 กระจายออกสู่ตลาดน้อยครับ

    อ่านต่อใน A.A.C ตอนที่ 7 การ์ดจอทางเลือกใหม่ ภาคจบ นะครับ


    บทความโดย IonRa

    e-mail : ionra@live.co.uk

    บทความนี้เคยนำเสนอใน

    Vmod, UPC, OCZ



  • 0 ความคิดเห็น: