A.A.C ตอนที่ 12 : Intel The New Hope ภาคแรก

01_Intel_GMA

ยุค coprocessor

เริ่มแรกในยุคที่ยังไม่มีชิพประมวลกราฟฟิคโดยเฉพาะทางนั้น ได้มีการนำชิพไม่โครโปรเซสเซอร์(หรือ ชิพประมวลผลที่เรานำไปใช้ทำเป็น ซีพียู นั้นแหละครับ)ไปติดตั้งบนแผงวงจรแยกต่างหาก เพื่อทำการประมวลผลที่เกี่ยวกับงานกราฟฟิคโดยเฉพาะ

การแยกโปรเซสเซอร์ ออกมาเพื่อทำงานโดยเฉพาะทาง อาทิเช่น งานกราฟฟิค, งานถอดรหัส, งาน Signal Processing และ String Processing เป็นต้น การทำแบบนี้เรียกว่า coprocessor ซึ่งเจ้า coprocessor จะเป็น processor ที่มีฟังชั้นพิเศษเพิ่มเข้ามาเพื่อทำให้มันสามารถประมวลผลเฉพาะทางได้ดีกว่า Processor ปกติครับ

พูดง่ายๆ เรามี coprocessor เพื่อช่วยในการแบ่งเบาภาระการทำงานของ CPU ไงครับ โดย coprocessor จะรับงานที่มันสามารถทำได้มาประมวลผลแทน CPU

เช่น coprocessor ตัวหนึ่งมีฟังก์ชั่นพิเศษที่ใช้ในการประมวลผลทางด้านกราฟฟิค เจ้า coprocessor ตัวนั้น ก็จะรับงานทางด้านกราฟฟิคมาประมวลผลแทน CPU ครับ

หรือ coprocessor ที่มีฟังชั้นพิเศษในการถอดรหัส มันก็จะรับงานถอดรหัสมาทำงานแทน CPU ครับ

1. ตัวอย่าง การจอยี่ห้อ SPEA รุ่น SPEA Fire ที่นำ CPU รุ่น Intel I860 ซึ่งเป็น ซีพียู ชนิด RISC จาก INTEL มาติดตั้งไว้บนการ์ดจอ เพื่อทำหน้าที่เป็น coprocessor สำหรับใช้ในการประมวลทางด้านกราฟฟิค 2D/3D ด้วยเฉพาะครับ

02_SPEA-Fire

03_SPEA-Fire

04_SPEA-Fire

ภาพการ์ดจอ SPEA Fire เป็นการ์ดจอที่เกิดจากการนำการ์ดจอ 2 การ์ดมาประกอบกันครับ

2. ตัวอย่าง หน่วยประมวลกราฟฟิคในเครื่อง SGI ซึ่งแบ่งหน่วยประมวลผลกราฟฟิกออกเป็น 3 ส่วนได้แก่ Geometry Engine, Raster Manager และ Display Generator ซึ่งในส่วนของ Geometry Engine ได้มีการนำ CPU รุ่น Intel i860 มาติดตั้งไว้เพื่อทำหน้าที่สำหรับการคำนวณทางเลขาคณิต และโครงสร้างของภาพ 3D โดยเฉพาะครับ

05

ภาพด้านบน นี้แหละครับ Geometry Engine ของ SGI ที่ช่วยในการประมวลผลทางด้านเลขาคณิต (โครงสร้าง 3D ส่วนมากมักเป็นรูปทรงเลขาคณิต)ครับ

จากตัวอย่างที่ผ่านมา เราพอจะทราบแล้วใช้ไหมครับว่า ในสมัยก่อนนั้นไม่มีชิพสำหรับทำหน้าที่ทางด้านกราฟฟิโดยเฉพาะ ดังนั้นในสมัยก่อนจึงมีการสร้างแผ่งวงจรแยก หรือการ์ดขึ้นมาเพื่อที่จะทำหน้าที่การประมวลทางกราฟฟิกโดยการนำ CPU มาติดตั้งบนการ์ดแสดงผลเพื่อทำหน้าที่การประมวลผลกราฟฟิคโดยเฉพาะ และปล่อยให้ CPU ที่อยู่บนเมนบอร์ดรับผิดชอบเฉพาะการประมวลผลในงานทั่วไปของมันตามปกติครับ

แต่อย่างที่รู้ๆกันอยู่ครับว่า coprocessor นั้นมีราคาที่แพงครับ ดังนั้นในเวลาต่อมาจึงได้มีการคิดค้นชิพประมวลผลทางด้านกราฟฟิคใช้งานแทน coprocessor ครับ

เราจะมาดูกันว่า Intel จะทำยังไงต่อไปหลังจากหมดยุคของ coprocessor ไปแล้ว (หมดยุคเฉพาะ coprocessor สำหรับด้านกราฟฟิคนะครับ แต่ coprocessor ด้านอื่นๆยังใช้กันอยู่ครับ)

05_02_spinlogo

Real 3D

Lockheed Martine ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเครื่องบินรบ และอาวุธสงครามรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ได้มีความสนใจในการที่จะทำตลาดกราฟฟิคชิพ จึงได้ตั้งบริษัทลูกขึ้นมาเพื่อทำตลาดกราฟฟิคโดยเฉพาะ บริษัทนั้นชื่อว่า Real3D ครับ ต่อทาง Intel ได้ว่าจ้างให้ทาง Real3D ช่วยผลิตชิพกราฟฟิคให้กับทาง Intel ครับ งานนี้เราต้องติดตามชมกันครับว่าการร่วมมือระหว่างเจ้าพ่อแห่งวงการไมโครโปรเซสเซอร์ กับจ้าวพ่ออาวุธสงครามผลจะออกมาเป็นอย่างไรครับ

06_777px-Lockheed_F-35_Joint_Strike_Fighter

ภาพตัวอย่างสินค้าของ Lockheed Martine เครื่องบินรบ F-35 ตัวต้นแบบ

08_Trident_II_missile_image

ภาพตัวอย่างสินค้าของ Lockheed Martine จรวด Trident missile เป็นจรวดที่ยิงขึ้นมาจากเรือดำน้ำ

Intel i740

เมื่อ Intel ได้ทำการจ้างวานให้ Real3D ผลิตชิพกราฟฟิคให้ ผลที่ได้ก็คือชิพ Intel i740 ครับ ชิพตัวนี้เรียกได้ว่าเกิดมาด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยกว่าคู่แข่งที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้น ก็เพราะว่า ชิพ Intel i740 เกิดมาก็ใช้การเชื่อมต่อแบบ AGP เลยครับ ในขณะที่คู่แข่งรายอื่นๆตอนนั้นไม่ว่าจะเป็น 3DFX, ATi และ NVIDIA ล้วนแล้วแต่ยังคงใช้การเชื่อมต่อแบบ PCI กันอยู่ครับ ข้อได้เปรียบของ AGP ก็คือ นอกจาก AGP จะส่งข้อมูลได้เร็วกว่า PCI แล้ว AGP ยังยังมีคุณสมบัตพิเศษที่เหนือกว่า PCI อีกคือ AGP นั้นสามารถนำหน่วยความจำหลักของระบบ(RAM) มาทำเป็น Frame-Buffer ให้กับการ์ดจอได้อีกด้วยครับ และเนื่องจาก Intel i740 เป็นชิพที่ออกแบบมาสำหรับ AGP โดยเฉพาะ และในสมัยนั้นเมนบอร์ดส่วนใหญ่ยังคงใช้สล็อต PCI กันอยู่เป็นจำนวนมาก (พูดง่ายๆว่า เมนบอร์ดที่ใช้สล็อต AGP ในสมัยนั้นมีน้อยนั้นเองครับ) นี้คือ นิสัยเสียอย่างหนึ่งของ intel ที่ชอบนำเทคโนโลยีเกินไปนั้นเองครับ แต่ทาง intel และ Real3D ก็หาทางออกในจุดนี้ได้ครับ นั้นคือ ทาง Real3D ได้ทำ Bridge Chip ออกมาเพื่อทำการแปลงสัญญานจาก PCI เป็น AGP ทำให้ ชิพ Intel i740 สามารถนำมาประกอบเป็นการ์ดจอ PCI ได้ครับ (แต่ต้องมี Bridge Chip ด้วยนะ)

การมาถึงของ Intel i740 ได้รับเสียงตอบรับอย่างดียิ่งครับ เพราะผู้ใช้งานส่วนใหญ่นั้นให้ความไว้วางใจในผลิตภัณของ Intel อยู่แล้วครับ

09_intel740_AGP 10_intel740_AGP

ภาพการ์ดจอชนิด AGP ที่ใช้ชิพกราฟฟิค Intel i740 (คลิกรูปดูภาพใหญ่)

11_Intel740_PCI

ภาพการ์ดจอชนิด PCI ที่ใช้ชิพกราฟฟิค Intel i740 มี Bridge Chip ด้วย (คลิกรูปดูภาพใหญ่)

12_01_Intel_i740_on_EP-BXT

ภาพชิพกราฟฟิค Intel i740 ที่ถูกนำไปประกอบบนเมนบอร์ดที่มี RAM build in มาให้ด้วยครับ (คลิกรูปดูภาพใหญ่)

13_Benchmark_2D

14_quake218

16_incomi11

15_turok015

17_g200

ข้างบน ภาพเกม RAGE's Incoming ที่ได้จาก Matrox G200

18_v2

ข้างบน ภาพเกม RAGE's Incoming ที่ได้จาก 3DFX Voodoo 2

19_i740

ข้างบน ภาพเกม RAGE's Incoming ที่ได้จาก Intel i740

20_ragepro

ข้างบน ภาพเกม RAGE's Incoming ที่ได้จาก ATi Rage Pro

21_riva

ข้างบน ภาพเกม RAGE's Incoming ที่ได้จาก NVIDIA RIVA 128

22_p2

ข้างบน ภาพเกม RAGE's Incoming ที่ได้จาก 3DLabs Permedia 2

23_752

Intel i752

หลังจากที่ทาง Real3D ได้ผลิตชิพประมวลผล Intel i740 ให้กับทาง Intel แล้ว ทาง intel ได้ทำการเจรจาขอซื้อ Real3D จาก Lockheed Martine และแล้วการเจรจาก็เป็นไปได้ด้วยดีครับ Lockheed Martine ยอมขาย Real3D ให้กับทาง Intel ในวันที่ 14 ตุลาคม ปี ค.ศ 1999 และหลังจากนั้น Real3D ก็กลายเป็นเพียงแผนก กราฟฟิคของ Intel ไปในที่สุด และช่วงปี ค.ศ 1999 นี้ ทาง Intel ได้ประกาศข่าวว่าจะออกชิพกราฟฟิคตัวใหม่ที่ใช้ชื่อว่า intel i752 โดยทาง Intel เองก็ได้ผลิตชิพและการ์ดจอ ตัวต้นแบบออกมาโชว์ให้ดูเป็นตัวอย่างแล้วครับ แต่ในที่สุด Intel i752 ก็ไม่ได้ถูกผลิตออกมาขายเป็นจำนวนมาก นั้นเพราะว่า Intel มีการเปลี่ยนแปลงแผ่นการตลาดไปเป็นอีกแบบหนึ่งนั้นเองครับ เดียวผมจะอธิบายในหัวข้อถัดไปนะครับ

24_i752-card

ภาพ การ์ดจอที่ใช้ชิพ Intel i752 ตัวต้นแบบ

25_i810

Intel Graphics i82810

อินเทลได้เปลี่ยนแผ่นการใหม่ โดยการนำสถาปัตยกรรมของชิพกราฟฟิค Intel i752 มาใส่ทำเป็นหน่วยประมวลผลกราฟฟิคในชิพเซ็ตของตน หรือ ที่เรามักเรียกกันอย่างย่อๆว่า IGP (Integrate Graphics Processor) นั้นเองครับ การที่ Intel นำสถาปัตยกรรมของชิพกราฟฟิค Intel i752 ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยประมวลผลกราฟฟิคที่มีคุณภาพดีในสมัยนั้นมาทำเป็น IGP ให้กับชิพเซต Intel 810 นั้น ทำให้ชิพเซตรุ่นนี้ของอินเทลได้รับความนิยมเป็นอย่างมากครับ เพราะว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ชิพเซต intel i810 นั้นมีราคาที่ไม่แพง และยังได้หน่วยประมวลกราฟฟิคที่มีคุณภาพดีติดมาพร้อมกับชิพเซตอีกด้วยครับ สำหรับกราฟฟิค IGP ที่อยู่ในชิพเซต Intel I810 นั้น Intel ใช้ชื่อว่า i82810 ครับ

27_ECS

ภาพ Mainboard ยี่ห้อ ECS P6IWT ซึ่งชิพเซต Intel i810

DVMT (Dynamic Video Memory Technology)

คือเทคโนโลยีที่ทาง Intel ใช้จัดการหน่วยความจำสำหรับหน่วยประมวลผลกราฟฟิคครับ หลังการ โดยสรุปของ DVMT คือ จะทำการแชร์ (Share) หน่วยความจำจากระบบส่วนกลาง มาทำเป็นหน่วยความจำสำหรับหน่วยประมวลกราฟฟิค (Frame Buffer) ตามความจำเป็นของงานที่ใช้ครับ เช่น หากทำงาน 2D ก็จะทำการ Share มาน้อยครับ หรือหากมีการใช้งาน 3D ก็จะทำการแชร์มามาก

DVMT ใน i82810 นั้นเป็น DVMT Version 1.0 ครับ (ในปัจจุบัน DVMT พัฒนาถึง Version 5 แล้วครับ)

28_Build_in

ภาพ Video Cache Memory ที่ Build in มาพร้อมกับ เมนบอร์ดที่ใช้ชิพเซต Intel i810

สำหรับใน DVMT ver 1.0 มีส่วนประกอบ 3 ส่วนมีดังนี้ครับ

1. Video Cache Memory คือ หน่วยความจำที่ Build in มาให้แล้วบนเมนบอร์ดจำนวน 4 MB ครับ (สำหรับ DVMT เวอร์ชั่น 2 ไปจะตัดส่วนนี้ออกไปครับ)

2. Fixed Memory คือ หน่วยความจำที่จะต้องทำการแชร์จากระบบไว้ตั้งแต่มีการเริ่มต้นเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ครับ โดย Fixed Memory จะทำการจองหน่วยความจำไว้จำนวน 2 MB ครับ เมื่อนำ Fixed Memory ไปรวมกับ Cache Memory ก็จะได้ Frame Buffer จำนวน 6 MB ซึ่งก็เพียงพอที่จะทำการแสดงผล 2D ที่ความระเอียด 1024 X 768 ได้สบายๆครับ

3. Dynamic Video Memory หากมีการใช้งานที่ความละเอียดสูงขึ้น หรือมีการประมวลผล 3D ที่มีความต้องการใช้ Frame Buffer มากขึ้น Dynamic Video Memory ก็จะทำการ Share หน่วยความจำจากระบบมาเพิ่มเป็น Frame Buffer ให้กับหน่วยประมวลผลกราฟฟิคตามความต้องการของ Application ที่เรากำลังใช้อยู่ตอนนั้นครับ สำหรับ DVMT Version 1.0 นี้สามารถ share หน่วยความจำได้สูงสุด 24 MB ครับ แต่ท่านต้องใช้ RAM 128 MB ขึ้นไปนะครับ เพราะหาก RAM ไม่ถึง 128 MB แล้ว DVMT ก็จะ Share หน่วยความจำได้ไม่ถึง 24 MB ครับ เช่น หากเครื่องคอมพิวเตอร์คุณใช้ RAM 64 MB Dynamic Video Memory ก็จะ Share หน่วยความจำมาเพียง 8 - 12 MB ครับ

เมื่อเรานำ Cache Memory มารวมกับ Fixed Memory และDynamic Video Memory ในกรณีที่ดีที่สุดเราจะได้ Frame Buffer ทั้ง 32 MB ครับ (4+2+24 MB)

สำหรับใน DVMT เวอร์ชั่นใหม่ๆ ก็จะมีการตัดส่วนของ Cache Memory ออกไปครับ จะเหลือไว้เพียง Fixed Memory และDynamic Video Memory ในส่วน Dynamic Video Memory ก็สามารถที่จะ Share แรมจากระบบได้ในปริมาณที่มากขึ้นเรื่อยๆ ตามความใหม่ของเวอร์ชั่นครับ

เราลองมาดูผลการทดสอบของ IGP ของ Intel i810 หรือ อีกชื่อหนึ่งคือ Intel i752 นั้นเองครับ ดูสิว่าหากเรานำมาเทียบกับกราฟฟิคการ์ดในยุคนั้นแล้วมันจะเป็นอย่างไรบาง

26_810G

29_3DMark99

ข้างบน ผลการทดสอบ 3DMark99 ของ intel i810 ที่อินทิเกรตหน่วยประมวผลกราฟฟิก Intel i752

30_IQ08I_i752

ข้างบน ภาพที่ได้จาก 3DMark99 ของ intel i810 ที่อินทิเกรตหน่วยประมวผลกราฟฟิก Intel i752 สามารถแสดงรายละเอียดออกมาได้ครบถ้วนครับ(คลิกดูภาพใหญ่)

31_IQ08I_Riva

ข้างบน ภาพที่ได้จาก 3DMark99 ของ NVIDIA RIVA TNT แสดงรายละเอียดออกมาได้ไม่ครบครับ สังเกตง่ายๆตรงบริเวณชายหาด(คลิกดูภาพใหญ่)

ดูจากคะแนน BenchMark และเปรียบเทียบกับคุณภาพของภาพที่ได้ เรียกได้ว่า IGP ของ INTEL ตัวนี้ทำให้ TNT จาก NVIDIA ต้องหนาวๆร้อนๆไปเลยครับ

32_i815

Intel Graphics i82815

สำหรับใน IGP ใน Intel i815 ก็ยังคงใช้สถาปัตยกรรมของชิพกราฟฟิค Intel i752 แต่จะมีการเพิ่มความเร็ว Core ของหน่วยประมวลกราฟฟิค และนอกจากนี้

บอร์ดที่ใช้ชิพเซต Intel i815 นั้นรองรับ FSB 100 และ 133 MHz ซึ่งมากกว่า ชิพเซต Intel i810 ซึ่งใช้ FSB เพียง 66 และ 100 MHzเท่านั้น

การรองรับ FSB ที่ความเร็วสูงขึ้น ทำให้สามารถใส่ RAM ที่มีความเร็วสูงขึ้นได้ และเมื่อมีการ Share แรมให้หน่วยประมวลผกราฟฟิคใช้ หน่วยประมวลผลกราฟฟิกก็จะได้ใช้ RAM ที่ความเร็วสูงขึ้นด้วยครับ ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพของการประมวลผลกราฟฟิคดีขึ้นด้วยครับ

33_product-5409810

Intel Extreame Graphics

สำหรับ IGPที่ใช้ชื่อ Intel Extreame Graphics นี้ท่านจะพบเห็นได้ใน i830M, i845GE, i845GV, i845G และ i845GL ครับ สำหรับชิพเซต Intel Extreame Graphics นี้ ได้รับการพัฒนาให้เหนือกว่า Intel Graphics i82810 และ Intel Graphics i82815 ดังนี้ครับ

1. เทคโนโลยีการผลิต : ยิ่งเล็กยิ่งดีครับ เพราะอัตราการหน่วงของกระแสไฟฟ้าจะลดลง ซึ่งจะทำให้การทำงานของชิพมีความเร็วสูงขึ้นครับ

Intel Extreame Graphics ใช้เทคโนโลยีการผลิต 130 nm

Intel Graphics i82810 ใช้เทคโนโลยีการผลิต 150 nm

2. ความเร็ว Core กราฟฟิกชิพ

Intel Extreame Graphics มีความเร็ว Core อยู่ระหว่าง 200 ถึง 266 MHz (ความเร็ว Core กราฟฟิคในชิพเซตแต่ละรุ่นจะไม่เท่ากัน )

Intel Graphics i82810 มีความเร็ว Core 133 MHz

3. ชนิดของ RAM ที่ชิพเซตรองรับ : เนื่องจากการประมวลของกราฟฟิคออนบอร์ด ต้อง Share แรมจากเมนบอร์ด ดังนั้น การที่เมนบอร์ดใช้แรมชนิดไหน กราฟฟิคออนบอร์ดก็จะใช้แรมชนิดนั้นด้วยครับ

Intel Extreame Graphics ใช้ DDR-RAM (ความเร็ว 100, 133, 166 MHz (ความเร็ว effective DDR 200, 266, 333 MHz))

Intel Graphics i82810 ใช้ SD-RAM (ความเร็ว 66 –100 MHz)

4. เวอร์ชั่นของ DVMT

Intel Extreame Graphics ใช้ DVMT เวอร์ชั่น 2.0

Intel Graphics i82810 ใช้ DVMT เวอร์ชั่น 1.0

5. จุดที่เหมือนกันของ Intel Extreame Graphics และ Intel Graphics i82810 นั้นก็คือ ทั้ง 2 ตัวมีพื้นทางสถาปัตยกรรมมาจากชิพกราฟฟิก Intel i752 ครับ

34_I845G copy

มาดูผลการทดสอบ

ชิพเซต : Intel i845G หน่วยประมวลกราฟฟิกที่อินทิเกรต คือ Intel Etrame Graphics

ชิพเซต : NVIDIA nForce 420 หน่วยประมวลกราฟฟิกที่อินทิเกรต คือ GeForce2 MX

ชิพเซต : VIA KM266 หน่วยประมวลกราฟฟิกที่อินทิเกรต คือ S3 ProSavge DDR

ชิพเซต : VIA P4M266 หน่วยประมวลกราฟฟิกที่อินทิเกรต คือ S3 ProSavge DDR

ชิพเซต : SIS 650 หน่วยประมวลกราฟฟิกที่อินทิเกรต คือ SIS 315

เป็นไงครับคู่แข่งแต่ละตัวน่ากลัวทั้งนั้นเลยครับ

เอะ! แต่ว่าหน่วยประมวลผลกราฟฟิค IGP พวกนี้จะสู้กับหน่วยประมวลผลกราฟฟิคชนิดที่ทำออกมาสำหรับกราฟฟิคการ์ด หรือ Discrete Graphics Processor ได้หรือไม่ต้องมาดูกัน

กราฟฟิคการ์ดที่นำมาทำการทดสอบเปรียบเทียบด้วยมีดังนี้

Geforce2 MX200 และ GeForce2 MX400

35_3DMark2001SE

36_QuakeIII

ดูจากผลคะแนนแล้ว ต้องยอมรับรับว่าออนบอร์ด Intel รุ่นนี้ไม่ธรรมดาเลยครับ เล่นซะ SIS กับ VIA แย้ไปเลยครับ และถ้าสังเกตุดูดีจะพบว่าคะแนนของเจ้า Intel Extreame Graphics พอๆกับการ์ดจอที่ใช้ชิพ GeForce2 MX 200 เลยนะครับ

01_Intel_GMA

Intel Extreme Graphics 2

Intel Extreme Graphihcs 2 มาพร้อมกับชิพเซ็ต Intel i865G ครับ ความแตกต่างของ Intel Extreme Graphihcs และ Intel Extreme Graphihcs 2 ต่างกันตรงที่ Intel Extreme Graphihcs 2 นั้นสามารถ Share แรมได้มากถึง 64 MB แต่ว่าคุณต้องมีแรมในระบบอย่างน้อย 192 MB และท่านต้องใช้ Driver Version 14.x ขึ้นไป นะครับถึงจะสามารถ Share ได้สูงสุดที่ 64 MB ครับ แต่หากท่านท่านใช่ Driver Version ต่ำกว่า 14.x จะสามารถ Share แรมได้เพียงแค่ 32 MB ครับ

นอกจากในชิพเซ็ต intel i865G แล้ว หน่วยประมวลผล Intel Extreme Graphihcs 2 ยังไปอยู่ในชิพเซ็ตรุ่น intel i855G และ i855GM ด้วยครับ แต่ความความแตกต่างของ Intel Extreme Graphihcs 2 ที่อยู่ใน i860G และ i855G แตกต่างกันตรงที่ Version ของ DVMT ที่ใช้ครับ

i865G ใช้ DVMT Version 2.0

i855G ใช้ DVMT Version 2.1

สำหรับ ชิพเซต Intel i855G นั้นท่านต้องมี RAM ในระบบถึง 256 MB ท่านจึงจะสามารถ Share แรมได้ถึง 64 MB ครับ

i865G เป็นชิพเซตสำหรับ PC

i855G เป็นชิพเซตสำหรับ NoteBook

37_DVMT2_1

ข้างบน ภาพ แสดงอัตราการ Share แรมของ Intel Extreme Graphihcs 2 ที่อยู่ในชิพเซต i855G

38_intel_dvmt_176

ภาพ โปรแกรม GPU-Z ไม่สามารถแสดง การ Share แรมของ Intel Extreme Graphihcs 2 ออกมาได้อย่างถูกต้อง ครับ

จากภาพข้างบน

โปรแกรม GPU-Z จะมองเห็นเฉพาะหน่วยจำชนิด Fixed Memory เท่านั้นครับ ส่วนหน่วยความจำชนิด DVMT นั้น GPU-Z จะมองไม่เห็นนะครับ
แต่เราสามารถใช้โปรแกรม 3DMark ดูได้ดังนี้ ครับ
จากรูปข้างบน

การ์ดจอ Intel ของผม โปรแกรม GPU-Z จะเห็นหน่วยความจำเพียง 16 MB เท่านั้นครับ (ซึ่งเป็น Fixed Memory)
แต่พอเราเปิดโปรแกรม 3DMark03 ขึ้นมา และคลิกที่ปุ่ม "Details"
เราจะพบว่าการ์ดจอของเรามีหน่วยความจำมากถึง 64 MB ครับ
64 MB มาจาก
Fixed Memory 16 MB
DVMT 48 MB
64 MB = 16 MB + 48 MB

สรุป โปรแกรม GPU-Z ยังไม่รู้จักหน่วยประมวลผลกราฟฟิกของอินเทลได้ดีนัก

เอาล่ะครับ เรามาดูคู่ต่อส่ของ Intel Etreame Graphics 2 กันดีกว่า

1. ATi 9100 IGP หน่วยประมวลกราฟฟิกที่อินทิเกรต คือ Radeon 9100 เจ้านี้เป็น IGP ที่ดีที่สุดในเวลานั้นครับ เพราะมันมีทั้ง TnL, Vertex Shader และ Pixel Shader ครับ

2. SIS 661 FX ใช้หน่วยประมวลกราฟฟิค SIS 315

3.Intel i865G หน่วยประมวลกราฟฟิกที่อินทิเกรต คือ Intel Etrame Graphics 2 ครับ

4. nForce 2 IGP หน่วยประมวลกราฟฟิกที่อินทิเกรต คือ GeForce4 MX440

5. SIS 741FX ใช้หน่วยประมวลกราฟฟิค SIS 315

6. VIA KM400 หน่วยประมวลกราฟฟิกที่อินทิเกรต คือ VIA UniChrome

39_b1

40_b3

41_b5

42_b7

43_b9

44_b11

45_b13

46_b15

47_b21

48_b23

49_b27

50_b28

เอาล่ะครับจากดูผลการทดสอบที่เห็นในครั้งนี้แล้ว เราจะเห็นว่าประสิทธิภาพ ของ IGP ที่อยู่ในชิพเซตของ ATi และ NVIDIA นั้นเหนือกว่าทาง INTEL อยู่พอสมควรครับ แต่ไม่ต้องห่วงครับ เพราะทาง INTEL นั้นรู้มาก่อนแล้วว่าการเผชิญหน้ากันระหว่าง INTEL, ATI และ NVIDIA ในตลาด IGP ต้องเกิดขึ้นแน่ๆ และทาง INTEL เองก็ได้เตรียม IGP ประสิทธิภาพสูงไว้รับมือทาง ATi และ NVIDIA ไว้อยู่แล้วครับ IGP ของ INTEL ตัวนั้นคืออะไร

อ่านต่อใน A.A.C 13 : Intel The New Hope ภาคจบ (คลิกเพื่ออ่าน)


บทความเรื่อง A.A.C ตอนที่ 12 : The Blue Hope ภาคแรก

โดย : IonRa

e-mail : ionra@live.co.th

บทความนี้เคยนำเสนอใน กระทู้ต่อไปนี้

- Vmodtech.com

- UnlimitPC.com

- Overclockzone.com

0 ความคิดเห็น: